แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกท่ีพบผู้ป่วยโควิด-19 นอกประเทศจีนเมื่อต้นปี 2563 แต่ไทยก็สามารถควบคุมการ แพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในการระบาดรอบแรกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จนการติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2563 นานาชาติยกย่องว่าไทยเป็นประเทศที่รับมือกับโควิด-19 ได้ดีมากประเทศหนึ่ง ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 Global COVID-19 Index (GCI) ซึ่งเป็นความร่วมมือขององค์การ อนามัยโลก (WHO), กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม ประเทศมาเลเซีย, PEMANDU Associates, และบริษัท Sunway Group ได้จัดให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ประเทศที่ ฟื้นตัวจากสถานการณ์ของโควิด-19 (Recovery Index) จาก ประมาณ 180 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลก ด้วยคะแนนรวม 82.27 และจัดอยู่ในกลุ่มเรตติ้ง 5 คือ ประเทศที่บรรเทาการระบาดของ ไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก โดย GCI ใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ ที่ดูภาพรวมในมิติต่างๆ ในด้านการฟื้นตัว (Global Recovery Index) และด้านความรุนแรงของการระบาด (Global Severity Index) อย่างไรก็ตาม ภายหลังการระบาดรอบใหม่ท่ี รุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา ประเทศเกาหลีใต้ ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับที่หนึ่ง ตามด้วยจีน ไอซ์แลนด์ และสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 13
นอกจากนี้ ในพิธีปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยท่ี 73 ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำานวยการใหญ่องค์การ อนามัยโลก ได้กล่าวชื่นชมว่าไทยเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม ที่รัฐบาลและสังคมทำงานร่วมกัน ทำให้ยับยั้งการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสได้แม้ยังไม่มีวัคซีน เพราะตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ไทยทุ่มเทให้กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข มีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขมากกว่า 1 ล้านคน คอยดูแลสอดส่องระบบสาธารณสุขในระดับท้องถ่ิน นอกจากนี้ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ยังแนะนำ ให้ประเทศต่างๆ ทำตามแบบอย่างประเทศไทยด้วย
ต่อมา ในปลายเดือนมกราคม 2564 สถาบันโลวี (Lowy Institute) สถาบันวิชาการอิสระเพื่อการวิจัยเชิงนโยบาย, เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้เผยแพร่ผลการวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับประสิทธิภาพในการ รับมือกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ใน 98 ประเทศทั่วโลก ด้วยดัชนีชี้วัด 6 ประการ คือ จำนวนผู้ป่วยยืนยัน, จำนวน ผู้เสียชีวิตยืนยัน, จำนวนผู้ป่วยยืนยันต่อประชากร 1 ล้านคน, จำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากร 1 ล้านคน, จำนวนผู้ป่วยยืนยัน คิดเป็นสัดส่วนกับจำนวนการตรวจสอบหาเชื้อ, และสุดท้ายคือ สัดส่วนการตรวจหาเชื้อต่อประชากร 1,000 คน ผลปรากฏว่า ประเทศไทยได้ลำดับที่ 4 ด้วยคะแนน 84.2 โดยมีประเทศ นิวซีแลนด์ได้ลำดับที่หนึ่ง (94.4 คะแนน) ตามด้วยเวียดนาม (90.8) ไต้หวัน (86.4) ไทย (84.2) และไซปรัส (83.3)