เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 นายทีโดรส อัดฮานอม (Tedros Adhanom) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก และคณะได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือน ไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดล (Prince Mahidol Award Conference: PMAC) ประจำปี 2561 และกล่าวชื่นชมไทยที่มีบทบาทในประเด็น สุขภาพโลกอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะความสำเร็จในการยุติ ปัญหาการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและกามโรคจากแม่สู่ลูก หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโรคเท้าช้าง รวมทั้งชื่นชม นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมมีส่วน สำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้าน สุขภาพได้อย่างทั่วถึง ซึ่งสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำใน สังคมได้อย่างแท้จริง ในโอกาสเยือนประเทศไทย นายทีโดรส อัดฮานอม ได้ลงพื้นที่ ซอยพระเจน ชุมชนบ่อนไก่ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมบ้านผู้ป่วยล้างไตช่องท้อง และได้แสดงความ เห็นว่า ตนได้รับแรงบันดาลใจที่สำคัญว่า ผู้ป่วยในประเทศไทย ได้รับบริการสาธารณสุขที่ดี โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านการเงิน มาขวางกั้น เพราะมีรัฐบาลให้การสนับสนุน เมื่อตนถามผู้ป่วย ล้างไตช่องท้องท่านนี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากรัฐบาลไม่สนับสนุน เขาตอบว่าเราก็แค่รอความตายเท่านั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ทำลายกำแพงด้านการ เงินลงได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่สำคัญของระบบนี้ นั่นคือไม่ให้การเงิน เป็นอุปสรรคของการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชน โดยที่นี่หมอและพยาบาลสามารถฝึกอบรมผ้ป่วย ครอบครัวและชุมชนให้ทำหน้าที่ดูแลรักษาตัวเองได้ ผู้ป่วยสามารถ ล้างไตเองได้ที่บ้าน โดยมีญาติและชุมชนคอยช่วยเหลือ ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นการขยายบริการลงไป ที่บ้าน สิ่งนี้ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยมีความ ยั่งยืน เพราะการรักษาไม่ใช่แค่เรื่องของแพทย์หรือบุคลากร สาธารณสุขเท่านั้น แต่ต้องทำให้ญาติและชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย นับเป็นต้นแบบที่น่าสนใจที่ไทย สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประเทศอื่นๆ ได้ สำหรับการล้างไตผ่านช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2555 ขณะนั้นยัง เป็นการล้างไตโดยใช้น้ำยาล้างไตในบรรจุภัณฑ์แบบขวด ไม่ได้เป็นถุงน้ำยาล้างไตที่เป็นมาตรฐานอย่างในปัจจุบัน ทำให้ ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร มีการติดเชื้อค่อนข้างมาก แต่หลัง จากมีการนำน้ำยาล้างไตที่บรรจุภัณฑ์แบบถุงตามมาตรฐาน สากลมาใช้ ประกอบกับมีการพัฒนาอุปกรณ์และเทคนิคการ ล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ทำให้การล้างไตผ่านช่อง ท้องได้ผลดี การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดนโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก (CAPD First Policy) ช่วยให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสามารถ เข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล ในต่างจังหวัด ถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีผู้รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแล้วกว่า 20,000 ราย และมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จนในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยใหม่ที่เข้ารับล้างไตทางช่องท้องมีปริมาณใกล้เคียงกับ ผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยผู้ป่วย ล้างไตทางช่องท้องด้วยตัวเองที่บ้านหลายคนอยู่มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยๆ