ในที่ 26 กันยายน 2560 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) และตัวแทนจากนานาชาติ ได้ถวายราชสดุดี เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ณ เวทีประชุม สันติภาพนานาชาติที่กรุงปารีส โดยนางอิริน่า โบโควา ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้ถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่าทรงเป็นมหากษัตริย์นักพัฒนา ที่ทรงส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และทรงส่งเสริม ให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยยูเนสโกมีความมุ่งมั่นที่จะ สานต่อพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่อง การศึกษาที่ทั่วถึงซึ่งจะทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้องค์การพระพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส และ สำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้จัดการประชุม สันติภาพนานาชาติ 2017 (International World Peace) ในหัวข้อ “การสร้างสันติภาพในสังคมอย่างยั่งยืน: มรดก ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2560 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก และนาย ไมเคิล วอป ประธานกรรมการบริหารยูเนสโก พร้อมกับตัว แทนผู้แทนถาวรจากนานาประเทศ รวมทั้งตัวแทนผู้นำ พระพุทธศาสนาจากประเทศต่างๆ และประธานองค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ได้กล่าวถวายราชสดุดีและ แสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติด้วยการ ถวายราชสักการะในเวทีนานาชาติ นางอิริน่า โบโควา ได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจและ แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาอันมีประชาชนเป็น ศูนย์กลาง ซึ่งสอดรับกับความสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573 ของยูเนสโก และกล่าวว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นการ เปลี่ยนแปลงในระดับโลก ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แนวคิดนั้นมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เหมาะสมกับการ พัฒนาในยุคศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนามนุษย์ ช่วยเสริม ศักยภาพแก่ผู้ที่ด้อยกว่าเพื่อมุ่งไปสู่แนวทางของความเท่า เทียมทางสังคมในรูปแบบที่ยั่งยืน ทำให้แนวทางดังกล่าว สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก รวมถึงการ ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปกป้องโลก นอกจากนี้ นางอิริน่า โบโควา ยังได้ยกย่องพระองค์ว่าเป็นครูของประชาชน เพราะพระองค์ท่านทรงชี้นำในเรื่องการศึกษาสู่พัฒนาการ ที่เรียนรู้คิด และแสดงออกตามความสามารถของบุคคล ไม่ใช่แค่การเรียนรู้เพื่อเขียนอ่านและคำนวณ แต่ต้อง หมายรวมถึงองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลาย การศึกษาต้องช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่การเป็น พลเมืองโลก มีส่วนร่วมในสังคมของตน และเปิดกว้างสู่โลก ภายนอก และนี่คือบทบาทของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 องค์การยูเนสโกถวายราชสดุดีในหลวงรัชกาลที่ 9