ปี 2544 เกิดหลักประกันสุขภาพของคนไทยครั้งแรกในของคนไทย หรือที่เรียกว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เริ่มจากการให้บริการนำร่องในบางจังหวัดก่อน และค่อยขยายครอบคลุมทุกจังหวัด ต่อมาในปี 2549 ได้ปรับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มาเป็นรักษาฟรีทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ควบคู่ไปกับการให้สิทธิผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี และได้รับการดูแลรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
โดยเฉพาะในปี 2551 มีการขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยบัตรทอง ได้แก่ 1) ผู้ที่เป็นโรคไต ได้รับการฟอกเลือด ล้างไตช่องท้อง และปลูกถ่ายไต 2) ประชาชนได้ใช้ยาที่จำเป็นและมีราคาแพง โดยไม่ต้องรับภาระ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม และยารักษาอาการเจริญพันธุ์ก่อนวัยเด็ก ยารักษาอาการติดเชื้อรารุนแรง 3) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4) ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดที่ต้องการเลิกเด็กขาด และ 5) ยกเลิกการจำกัดความคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จากเดิมไม่เกินปีละ 2 ครั้ง เปลี่ยนเป็นผู้ป่วยสามารถใช้บริการนอกหน่วยบริการที่กำหนดได้ตามความจำเป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่การพัฒนาระบบหลักประกันคุณภาพของคนไทยก้าวไปไกลจนสามารถทำให้คนไทย 99.16% มีหลักประกันสุขภาพ และรักษาโรคได้ครอบคลุมเกือบทุกโรค