ที่ประชุมใหญ่สมัชสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 40 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ได้มีมติรับรองการร่วมเฉลิมฉลอง ในวาระครบรอบบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ โดยยกย่องพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ครบรอบ 150 ปีชาตกาล (20 มกราคม 2563) และสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครบ 100 ปี แห่งการ สิ้นพระชนม์ (2 สิงหาคม 2464) ว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพในวาระปี 2563-2564 โดยพระอาจารย์มั่นฯ และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นพระสงฆ์รูปที่ 3 และ 4 ของไทย นับตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้รับการยกย่องดังกล่าว
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระอาจารย์สายวิปัสสนา กรรมฐาน ที่คนไทยทั่วประเทศเคารพนับถือ ท่านได้ปฏิบัติตน ตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัดและยึดถือ ธุดงควัตร ท่านได้วางแนวทางในการปฏิบัติตามหลักธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะ และประชาชนอย่างกว้างขวาง หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนว ปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่าน ได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า จนปัจจุบัน พระอาจารย์มั่นฯ ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และปรารภความเพียรตั้งแต่ วันแรกบรรพชา-อุปสมบทจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต หลักคำสอนของท่านได้ชี้แนะวิธีบำบัดทุกข์ ด้วยการลดละ ความโลภ ความโกรธ และความหลงออกจากใจตน แนะนำเข้าถึงความสงบด้วยการเจริญสมาธิ ส่งผลให้ผู้คนหันมาสนใจ ศึกษาแนวทางที่ท่านได้วางหลักไว้ และแผ่ขยายในวงกว้าง จากระดับประเทศสู่สังคมโลก
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในลำดับองค์ที่ 10 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ในภาษาไทย เป็นนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก ซึ่งมีหนังสือนวโกวาทเป็นหลักสูตรเบื้องต้นสำหรับภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาจนตราบถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ พระองค์ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยเพื่อจัดการ ศึกษาของภิกษุสามเณรแบบใหม่ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการ ศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศไทยโดยมีวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน มีมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นต้นแบบในด้าน หลักสูตรและการฝึกหัดครู อีกทั้งทรงปรับปรุงการปกครอง คณะสงฆ์ จนนำมาซึ่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง คณะสงฆ์ ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงรอบรู้ ภาษาต่าง ๆ หลายภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษา อังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ทรงพระนิพนธ์หนังสือหลักสูตร นักธรรมชั้นตรี โท เอก หลักสูตรบาลีไวยากรณ์ทั้งชุด รวมพระนิพนธ์ที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี กว่า 200 เรื่อง