ระบบสุขภาพของไทยได้รับการยกย่องจากหลายสถาบัน ของโลกว่าเป็นระบบสุขภาพที่ติดอันดับนำในเอเชียและ ดีเยี่ยมในระดับสากล โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (John Hopkins University) สหรัฐอเมริกา และองค์กร Nuclear Threat Initiative ได้รายงานดัชนีความมั่นคงทางด้านสุขภาพ (2019 Global Health Security Index) พร้อมจัดอันดับ ประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 195 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย โดยมี คะแนนรวม 73.2 คะแนน (คะแนนเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 40.2 คะแนน) ทั้งยังได้รับยกย่องว่าเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความ พร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด ซึ่งการจัดอันดับดัง กล่าว ได้พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้าน โดยประเทศไทยได้รับ คะแนนต่าง ๆ ดังนี้
การป้องกันโรค ได้ 75.7 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก
ความสามารถในการตรวจจับโรค และรายงานที่รวดเร็ว ได้ 81.0 คะแนน อันดับที่ 15 ของโลก
การตอบโต้ และบรรเทาผลกระทบของโรคระบาดอย่างรวดเร็ว ได้ 78.6 คะแนน อันดับที่ 5 ของโลก
มีระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง และมั่นคง ได้ 70.5 คะแนน อันดับ 2 ของโลก
มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ มีแผน งบประมาณด้านป้องกันควบคุมโรค และดำเนินงานตาม แนวปฏิบัติสากล ได้ 70.9 คะแนน อันดับ 12 ของโลก
ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามด้านชีวภาพ ได้ 56.4 คะแนน อันดับ 93 ของโลก
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการยกย่องว่า มีระบบสุขภาพดี ที่สุดในอาเซียนจากนิตยสาร CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดอันดับประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุด ในโลกประจำปี 2562 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ 1. โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข 2. ประสิทธิภาพของบุคลากร ด้านสาธารณสุข ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่น ๆ 3. ค่าใช้จ่ายในระบบ 4. การเข้าถึงยาคุณภาพ และ 5. ความพร้อม ของรัฐบาลในการจัดการระบบ นอกจากนี้ CEOWORLD ยังพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด ระบบสุขอนามัย และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น การจัดการกับบุหรี่-ยาสูบ และการจัดการโรคอ้วน จากการสำรวจ ทั้งหมด 89 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยมีระบบสุขภาพที่ ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก โดยได้คะแนนทั้งหมด 67.99 เต็ม 100 แบ่งออกเป็น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 92.58 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 17.37 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 96.22 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 67.51 คะแนน และ ความพร้อมของรัฐบาล 89.91 คะแนน
ทั้งนี้ ระบบสุขภาพที่เข้มแข็งของไทยมีพื้นฐานสำคัญ มาจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการดำเนิน โครงการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น การจัดตั้งสถาบันวิชาการและสถาบันทางสังคมด้านสาธารณสุข การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพดี และต้นทุนไม่สูง และการก่อตั้งองค์กรสาธารณประโยชน์ขึ้น จำนวนมาก เป็นต้น