10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2548
ความรุนแรงในวัยรุ่น อันธพาลหรือคึกคะนอง ผิดพลั้งหรือตั้งใจ?

ไม่ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากวัยรุ่นจะด้วย’ตั้งใจ’ หรือ ‘พลั้งพลาด’ ไปก็ตาม สังคมไทยไม่ควรปล่อยให้วัยรุ่นโดดเดี่ยว เราทุกคนควรมีสำนึกใหม่ว่าอย่ารักเพียงลูกตน ต้องช่วยดูแลลูกคนอื่นด้วย เรื่องอย่างนี้ ผู้ใหญ่ที่เคยผ่านประสบการณ์วัยรุ่นต้องช่วยกันพิจารณาอย่างลึกซึ้ง เพื่อคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น  

ปี 2547 เป็นอีกปีหนึ่งที่สะท้อนสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่นไทยที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ  เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร รายงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาลระบุว่า ระหว่างเดือนตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547 มีเหตุการณ์วัยรุ่นตีกันมากกว่า 3,000 ครั้ง!!!  หลากหลายเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มวัยรุ่น นำมาซึ่งคำถามต่อสังคมไทยในปัจจุบันว่า เกิดอะไรขึ้นกับเยาวชนที่เป็นอนาคตสำคัญของชาติเหล่านี้และอะไรเป็นแรงผลักดันที่ให้เด็กวัยรุ่นก่อความรุนแรง-‘ผิดพลั้ง’หรือว่า ‘ตั้งใจ’  

รูปแบบของความรุนแรงในวัยรุ่น ณ ปี 2547

วัยรุ่นรวมกลุ่มกับเพื่อนเป็นเสมือนพลังผลักดันสู่ความสำเร็จ หากสิ่งที่กระทำเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แต่อาจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของสังคมหากวัยรุ่นขาดการยับยั้งชั่งใจ  ดังรูปแบบการก่ออาชญากรรมของกลุ่มวัยรุ่นที่รวบรวมได้ในปี 2547  สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอและตกต่ำอย่างรุนแรงทั้งสถาบันครอบครัวและสังคมไทย (ในที่นี้ไม่ได้รวมเรื่องอาชญากรรมทางเพศไว้ เพราะกล่าวแล้วในสถานการณ์เด่นลำดับที่ 4)

  • วัยรุ่นปล้นทรัพย์ เมื่อต้องการเงินไปเที่ยว โดยเล็งเหยื่อที่ไม่มีทางสู้และมาคนเดียว โจรวัยรุ่นใช้รถจักรยานยนต์พร้อมอาวุธมีดตระเวนล่าเหยื่อยามค่ำคืน ดังเช่นเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในตอนค่ำของวันที่  5 มกราคม 2547  โจรวัยรุ่น 3 คน  ปล้นชิงทรัพย์นักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 รายซ้อนในเวลาใกล้เคียงกันที่ป้ายรถเมล์ โดยเหยื่อถูกตีที่ท้ายทอยจนสลบ ส่วนอีกรายถูกฟันด้วยอาวุธมีดที่สีข้างด้านซ้าย ข้อมือขวาและที่ริมฝีปากจนต้องเย็บถึง 50 เข็ม


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333