ในปี 2561 ข่าวการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนไปทั่วประเทศ โดยสื่อได้พาดหัวข่าวรายวันว่า แต่ละวันมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกี่คน จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างมาก สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับสังคมว่า ทำ.ไมอยู่ดีๆ โรคพิษสุนัขบ้าถึงกลับมาระบาดในประเทศไทยอีก ทั้งๆ ที่หลายปีที่ผ่านมาไม่ค่อยมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคมากนัก อธิบดีกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2561 ว่าพบผู้เสียชีวิตถึง 17 ราย ใน 14 จังหวัด แบ่งเป็นบุรีรัมย์ ระยอง และสงขลา จังหวัดละ 2 ราย ส่วนสุรินทร์ ตรัง นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง หนองคาย ยโสธร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ตาก และสุราษฎร์ธานี พบจังหวัดละ 1 ราย1 ในขณะที่กรมปศุสัตว์ได้รายงานสถานการณ์ระบาด ของโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561 ว่ามีตัวอย่างสัตว์ส่งตรวจ ทั้งหมด 9,275 ตัวอย่าง พบผลบวกทั้งหมด 1,469 ตัวอย่าง ใน 54 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 15.83 โดยมีการระบาดสูงสุด ใน 10 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สงขลา นครราชสีมา ยโสธร ชลบุรี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครศรีธรรมราช และ กาฬสินธุ์ ส่วนชนิดสัตว์ที่พบได้แก่ สุนัข 1,281 ตัว โค 117 ตัว แมว 51 ตัว กระบือ 15 ตัว แพะ 2 ตัว นอกจากนี้ ยังมี ม้า กวาง และสุกร ชนิดละ 1 ตัว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2561 มีจังหวัดที่ไม่พบโรคพิษสุนัขบ้าเพียง 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ตราด นครนายก บึงกาฬ สกลนคร หนองบัวลำภู เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครปฐม ชุมพร พังงา ภูเก็ต และนราธิวาส ไม่น่าเชื่อว่ารากเหง้าของปัญหาการระบาดของ โรคพิษสุนัขบ้าครั้งนี้คือปัญหาของระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย นั่นคือการตีความเรื่อง “การกระจายอำนาจ” องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่เห็นว่าหน้าที่การทำงานในเรื่องนี้ เป็นของราชการส่วนกลางในระดับกระทรวงและกรม ไม่ใช่หน้าที่ของ อปท. ทำให้ สตง. เข้าไปตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. และเรียกงบประมาณที่ดำเนินการฉีดวัคซีน พิษสุนขั บ้าคืนจาก อปท. ผลกระทบที่ตามมาจึงเกิดเรื่องร้ายแรงที่ไม่มีใครคาดคิด เนื่องจาก อปท. ทั่วประเทศไม่กล้าดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จนทำให้เกิดการระบาดของโรคตามมาและมีผู้เสียชีวิตในที่สุด