10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2563
รับมือสังคมสูงวัย: ไทยตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อสังคมสูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม (ACAI)

ในปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และในอีกไม่เกิน 15 ปี ข้างหน้าคาดประมาณว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยจึงส่งเสริมความร่วมมือด้านการสูงวัยอย่างมีศักยภาพ (Active Ageing) ในภูมิภาคอาเซียน จนเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและ นวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation: ACAI) ในประเทศไทยในเวลาต่อมา 

​การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นการเปลี่ยนผ่านประชากร จากยุคเกิดมาก ตายมาก กลายเป็นยุคเกิดน้อย ตายยาก ปัจจุบันประชากรโลกได้กลายเป็นสังคมสูงอายุแล้ว เมื่อมี สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่าหนึ่งพันล้านคน หรือ คิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรโลกทั้งหมด1 นอกจากนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ได้กลายเป็นสังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ กำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ประชากรไทยกำลังมีอายุสูงขึ้นในอัตราที่เร็วมาก ปัจจุบัน ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัยแล้วตั้งแต่ปี 2548 และในปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ราว 12 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และ ในอีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้าคาดประมาณว่า ประเทศไทยจะ กลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด เมื่อมีสัดส่วนประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด2 

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกับประเทศอาเซียน ด้านการสูงวัยอย่างมีศักยภาพ (Active Ageing) จนเป็น ที่มาของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพ และนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation: ACAI) ในประเทศไทยในเวลาต่อมา บทความนี้ เป็นการอภิปรายเรื่องการเข้าสู่สังคมสูงวัยของอาเซียน ยุทธศาสตร์สังคมสูงวัยของไทย ความร่วมมือของอาเซียนใน การจัดตั้งศูนย์ ACAI และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความ ร่วมมือของศูนย์ ACAI 

อาเซียนกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย 

​ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่มีประชากรสูงอายุ จำนวนมาก ประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) มีประชากร สูงอายุรวมกันประมาณ 74 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรอาเซียนทั้งหมด3 จึงกล่าวได้ว่า อาเซียนได้เข้า สู่สังคมสูงอายุแล้ว โดยมีสิงคโปร์เป็นประเทศที่สูงวัยเร็วที่สุด ในอาเซียน โดยมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 21 และเป็นประเทศ เดียวในอาเซียนที่กลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน และสูงวัยเป็นอันดับ ที่สองรองจากสิงคโปร์ 


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333