ภาวะซึมเศร้า กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของเยาวชนทั่วโลก ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการคิด ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึง สภาวะอารมณ์ที่หดหู่และปัญหาสุขภาพ และมีโอกาสเกิดได้บ่อยในเด็กและเยาวชนที่อายุระหว่าง 10-18 ปี ซึ่งเด็ก ที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้า และพ่อแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าก็จะมีความเสี่ยงที่มีลูก ที่มีภาวะซึมเศร้าเช่นกัน ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นสาเหตุสำ˝ˇคัญของการนำ˝ˇไปสู่การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น โดยเด็กและเยาวชน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถิติการฆ่าตัวตายต่อประชากร 100,000 คน สูงเป็นอันดับที่สองของโลก
ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญของการนำไปสู่ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น แม้ว่าการฆ่าตัวตายของเยาวชน จะไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว แต่อุบัติการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีความ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจะเห็นคุณค่า ในตนเองในระดับต่ำมีความเปราะบางทางอารมณ์ที่สูง รวมถึงมีความยากลำบากในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ดังนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์ที่เป็นสิ่งกระตุ้นจึงนำไปสู่การหา ทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย เช่น วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อถูกกลั่นแกล้งจะยิ่งมีแนวโน้มสูงในการฆ่าตัวตาย1
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกในปี 2559 เด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถิติ
การฆ่าตัวตายต่อประชากร 100,000 คน สูงเป็นอันดับ ที่สองของโลก รองจากภูมิภาคยุโรป สิ่งที่น่าตกใจคือ การฆ่าตัวตายเริ่มพบตั้งแต่เด็กอายุ 10 ปี การสำรวจสาเหตุ การตายของคนอายุ 15-29 ปี ขององค์การอนามัยโลก สาเหตุการตาย 3 อันดับแรก คือ อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตาย และการถูกทำร้าย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สำรวจอีกครั้ง ในปี 2561 ก็พบสาเหตุการตายของเด็กและเยาวชน อายุ 10-19 ปี ยังคงเหมือนกับผลการสำรวจในปี 2016 บทความนี้เป็นการอภิปรายสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าและ การฆ่าตัวตายในประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงของเยาวชนต่อ ภาวะซึมเศร้า และแนวทางการป้องกันและลดปัญหาภาวะ ซึมเศร้าดังกล่าว