ปัจจุบัน มีสัตว์ทะเลและสัตว์ป่าจำ˝ˇนวนมากที่สังเวยชีวิตให้ขยะพลาสติก การพบขยะพลาสติกจำ˝ˇนวนหลาย กิโลกรัมในท้องของกวางป่าที่เสียชีวิตที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ. น่าน เมื่อปี 2562 ได้ปลุกคนไทยให้ตระหนักถึงวิกฤตขยะพลาสติก มาตรการงดแจกถุงพลาสติกหูหิ้วของ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา นับเป็น ก้าวสำ˝ˇคัญของการลดขยะพลาสติกในประเทศ ก่อนที่จะมีการห้ามใช้พลาสติก 7 ชนิดภายในปี 2564 โดย จะใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะของรัฐ
พลาสติกเป็นวัสดุที่มหัศจรรย์ ด้วยคุณสมบัติของ พลาสติกที่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูงและราคาถูก ทำให้ มีการใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง แพร่หลาย นำมาซึ่งการใช้พลาสติกที่มากเกินความจำเป็น มีการผลิตพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (Single-used plastic) เพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการบริโภค ของมนุษย์ แต่ข้อเสียของพลาสติก คือ มันไม่ย่อยสลาย เมื่อผนวกกับพฤติกรรมการใช้ครั้งเดียวทิ้งของมนุษย์จึงก่อให้ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล จนทั่วโลกต้อง เร่งรีบออกมาตรการเพื่อลดการผลิตและใช้พลาสติกแบบ ใช้ครั้งเดียวทิ้งและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ ภาครัฐ บทความนี้เป็นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาขยะ พลาสติกและความพยายามในการแก้ปัญหาของประเทศไทย
ปัญหาขยะพลาสติกท่วมโลก ปัญหาสุขภาพ
การผลิตพลาสติกเชิงอุตสาหกรรมเกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ ที่ 1950 และมีการผลิตถุงพลาสติกเป็นครั้งแรกโดยวิศวกร ชาวสวีเดน ใน ค.ศ. 19651 หลังจากนั้น ปริมาณการผลิต พลาสติกก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่น้อยกว่า 8,300 ล้านตัน (เทียบเท่าน้ำหนักของช้าง 1 พัน ล้านเชือก) มีการประเมินว่าทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีการใช้ถุง พลาสติก 1-2 ล้านใบ และมีการใช้ขวดพลาสติก 1 ล้านขวด2 มีสถิติระบุว่า มีการใช้หลอดพลาสติกในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 500 ล้านหลอดต่อวันเลยทีเดียว3 หากยังปล่อยให้มีการผลิต พลาสติกไปเรื่อย ๆ คาดว่าภายใน ค.ศ. 2050 โลกจะมีขยะ พลาสติกมากถึง 12,000 ล้านตัน