การศึกษาผลกระทบของการทำงานที่บ้านในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นช่วงเวลาประมาณ 1 เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2563 มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 97 ราย พบว่า การทำงานที่บ้านทำให้เกิดผลดีทั้งต่อองค์กรและพนักงาน ทั้งด้านค่าใช้จ่ายโดยตรงที่ลดลง เวลาที่ประหยัดได้จากการเดินทาง และผลิตภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่พนักงานรู้สึกในทางบวกต่อการที่องค์กรให้อิสระในการทำงานที่บ้านได้ การลดงานที่ไม่จำเป็น การมีสภาพการทำงานที่เงียบมากขึ้น และการที่สามารถประชุมกับทั้งในและนอกองค์กรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การทำงานที่บ้านยังมีผลดีต่อสังคมจากการช่วยลดปริมาณการจราจรในท้องถนน ซึ่งมีผลในการลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และมลพิษทางอากาศลงด้วย1
จากรายงายของ ETDA เปิดเผยผลสำรวจบุคลากรภาครัฐจาก 20 กระทรวง ช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในภาวะล็อกดาวน์ที่ผ่านมา มีความพร้อมทำงานจากบ้านในระดับ “ปานกลาง” จากข้อค้นพบนี้ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดสำรวจทางออนไลน์ในหัวข้อ ความพร้อมของภาครัฐในการทำงานในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเตรียมพร้อมสู่ new normal ในระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2563 กับบุคคลากรภาครัฐ ทั้ง 20 กระทรวงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 พบว่า เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ตอบว่ามีความพร้อมในการทำงานจากที่บ้าน ได้แก่ กลุ่มข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป และพนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีลักษณะงานเชิงเทคนิคจะมีความพร้อมในการทำงานจากที่บ้านมากกว่ากลุ่มที่ลักษณะงานไม่ได้เป็นงานเชิงเทคนิค ส่วนสายงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอยู่แล้วจะมีความพร้อมในการทำงานจากบ้านมากกว่าสายงานอื่น อาจเป็นเพราะมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในการทำงานออนไลน์ ทำให้การทำงานสามารถยืดหยุ่นในเรื่องของสถานที่ทำงานได้2
จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย3 พบว่า มุมมองของพนักงานต่อการ WFH ต่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานนั้น กลุ่มตัวอย่างมองว่า การทำงานที่บ้านทำให้แรงจูงใจในการทำงานลดลง (60.0%) มีความเสี่ยงต่อการลดลงของเงินเดือนและสวัสดิการ (57.6%) มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานลดลง (18.3%) และมองว่างานไม่มีความท้าทาย (14.7%) อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังของการทำงานที่บ้านมากเกินไปคือ อาจจะมีผลเสียและไม่ได้ตอบโจทย์การทำงานได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดเวลาของชีวิต การอยู่ลำพังโดดเดี่ยวเป็นเวลานานเกิน ความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงานลดลง ขาดประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิต รวมถึงการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ดังต่อไปนี้
ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราทุกคนต่างก็เกิดความวิตกกังวลและไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ของสิ่งนี้ ทุกคนต่างต้องปรับตัวและเผชิญปัญหาทั้งการเจ็บป่วยและสูญเสียคนที่เรารัก รวมถึงการสร้างมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ ของการแพร่ระบายในครั้งนี้ ในหลายๆ ประเทศมีการออกกฎหมายในหลายๆ รูปแบบ เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ของรัฐบาลเพื่อใช้ควบคุมการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีจุดมุ่งหมายในการลดการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการขอความร่วมมือกับภาคประชาชนในการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง ตั้งแต่การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือเมื่อมีการสัมผัสกับสิ่งของที่มีความเสี่ยง การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงการปรับตัวในการทำงานที่บ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นการรับมือ
การเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะยังอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี และผลกระทบจากความสูญเสียทั้งหมดอาจจะต้องใช้เวลาในการเยียวยาและฟื้นสภาพทางเศรฐกิจและสังคม อีกอย่างน้อย 5 ปี สิ่งจำเป็นที่เกิดขึ้นจะเป็นประสบการณ์ของเราทุกคนที่จะต้องปรับตัวในการใช้ชีวิตแบบ new normal และเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เราทุกคนสามารถร่วมมือกันในการฝ่าวิกฤต รับผิดชอบในหน้าที่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงร่วมมือกันในการดูแลส่วนรวมใน ชุมชน สังคมและประเทศของเรา การที่จะกลับมามีความสุข ใช้ชีวิตที่มีอิสระ และดูแลคนที่เรารักได้นั้นก็สามารถเป็นความจริงได้ในอีกไม่นาน
ทีมวิชาการสุขภาพคนไทย และผู้เขียนร่างแรก (ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร)