นับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการในการสุ่มตรวจโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นระยะ ๆ จำนวนหลายหมื่นราย ทำให้พบความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นธันวาคม 2563 กับแรงงานข้ามชาติสมุทรสาคร การระบาดในจังหวัดสุมทรสาครเกิดจากสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดทำให้เกิดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังขยายออกไปยังจังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากมีการเดินทางข้ามจังหวัดไปมาของแรงงานข้ามชาติและผู้ที่ประกอบอาชีพในจังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้าอาหารทะเล
ย้อนเวลาการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาครสู่จังหวัดอื่น ๆ
17 ธันวาคม 2563 จังหวัดสมุทรสาครแถลงว่า พบแม่ค้าในตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาครติดโควิด-19 ซึ่งผู้ติดเป็นหญิงไทย อายุ 67 ปี จึงได้มีเรียกการตรวจผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
18 ธันวาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 3 จากการตรวจกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง 26 รายคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่สมุทรสาครระบุว่า “.....ผู้ที่ติดเชื้อในขณะนี้ประมาณ 12-13 ราย ก็ยังถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำอยู่”
19 ธันวาคม 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงว่าพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 12 รายจากกรณีนี้ รวมผู้ติดเชื้อทั้งหมด 13 ราย และวันเดียวกันนี้ ผู้ว่าฯ จังหวัดสมุทรสาครแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 548 ราย[1] จากการคัดกรองในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จำนวน 1,192 ราย และมีการประกาศล็อกดาวน์จังหวัดเป็นเวลา 14 วัน นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคประเมินสถานการณ์ว่ายังเป็นการระบาดอยู่ในพื้นที่จำกัด และไม่มีผู้ป่วยรุนแรง แต่แนวโน้มการพบผู้ป่วยในชุมชนแรงงานข้ามชาติรอบตลาดกลางกุ้งยังมีอยู่ เพราะมีการพักอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ในด้านของกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเฝ้าระวัง สอบสวน และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชนตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่เมื่อทราบขอบเขตของการระบาด พร้อมกับการควบคุมโรค จำนวนผู้ป่วยก็น่าจะลดลง
19 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 รวม 2 สัปดาห์ ผู้ว่าฯ สมุทรสาครกำหนดระยะเวลาในการควบคุมโรค โดยห้ามบุคคลเข้า-ออก (ล็อกดาวน์) ตลาดกลางกุ้งและหอพักศรีเมือง และใช้หอพักเป็นสถานที่กักกันโรค โดยห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติเข้า-ออกจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนประชาชนในพื้นที่อื่นงดออกจากเคหสถานเวลา 22.00-05.00 น. (เคอร์ฟิว) และกรมควบคุมโรคขอความร่วมมือให้งดเดินทางออกจังหวัดโดยไม่จำเป็น[2]
20 ธันวาคม 2563 รองผู้ว่าฯ สมุทรสาคร แจ้งว่า พบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 146 ราย[3]
21 ธันวาคม 2563 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผยจำนวนผู้ติดเชื้อ 382 ราย เป็นแรงงานข้ามชาติ 360 ราย ติดเชื้อในประเทศ 14 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 8 ราย[4] โรงเรียนที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดสมุทรสาคร 14 โรงเรียน ปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2563 - 3 มกราคม 2564[5]
22 ธันวาคม 2563 ศบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 427 ราย เป็นแรงงานข้ามชาติ 397 ติดเชื้อในปีระเทศ 16 ราย ใน State Quarantine 14 คน เมื่อมีการสอบสวนโรค พบว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติมีการเดินทางไป 22 จังหวัด[6]
23 ธันวาคม 2563 รองผู้ว่าฯ สมุทรสาคร เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 121 ราย[7]
24 ธันวาคม 2563 สบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 55 ราย ใน 27 จังหวัด[8]
25 ธันวาคม 2563 สบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 81 ราย และมีจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อมีประวัติเชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร รวม 31 จังหวัด
26 ธันวาคม 2563 สบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อพุ่งถึง 110 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 64 ราย แรงงานข้ามชาติ 30 ราย ในสถานที่กักกัน 16 ราย และมี 33 จังหวัดที่เชื่อมโยงกับจังหวัดสมุทรสาคร
27 ธันวาคม 2563 สบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 121 ราย กระจายไปแล้ว 39 จังหวัด
28 ธันวาคม 2563 สบค. แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 144 ราย ตอดเชื้อในประเทศ 115 ราย แรงงานข้ามชาติ 14 ราย จากต่างประเทศ 15 ราย และผู้ว่าฯ สมุทรสาครติดโควิด-19
29 ธันวาคม 2563 ศูนย์ข้อมูล โควิด-19 เปิดเผยว่า มีผู้ป่วยใหม่จำนวน 155 ราย เสียชีวิต 1 ราย
ยอดผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2563 อยู่ที่ 6,440 ราย ใน 44 จังหวัด