ปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้เป็นเพียงเรื่องส่วนบุคคล แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าพบจิตแพทย์ และค่าการรักษาในโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายทางอ้อม เช่น การสูญเสียรายได้เนื่องจากการลางาน หรือประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง ขณะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมักมีแนวโน้ม
ลางานบ่อยขึ้น หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลให้บริษัทสูญเสียผลผลิตและลดศักยภาพการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ภาระค่ารักษาพยาบาลยังเพิ่มขึ้นทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และระบบสาธารณสุขของประเทศ อีกด้านหนึ่ง สุขภาพจิตที่ย่ำแย่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใช้สารเสพติด การใช้จ่ายเกินตัว หรือแม้กระทั่งปัญหาหนี้สิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของสังคม
ดังนั้น การลงทุนในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิตของประชาชน การให้การศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต การสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางจิตเวช และการส่งเสริมสภาพแวดล้อม
การทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี ล้วนเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันปัญหานี้
หากเรามองปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องรอง ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ “ป่วยใจ” ไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป แต่เป็นภัยเงียบที่สามารถสร้างวิกฤตทางเศรษฐกิจได้อย่างคาดไม่ถึง
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย” ทุกเล่ม ทุกปี อ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือ ติดต่อขอรับรูปเล่มหนังสือรายงานสุขภาพคนไทยได้ทุกปี ผ่านทางกล่องข้อความ Chat ทาง Facebook "สุขภาพคนไทย" กดปุ่มติดต่อขอรับหนังสือ และรอแอดมินติดต่อกลับได้เลยครับ
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2568 หมวดตัวชี้วัด หมวดที่ 1 เรื่อง สถานการณ์และผลกระทบสุขภาพจิตในประเทศไทย
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล