บทความสั้น
“ปลาหมอคางดำ” ลุกลาม ระบบนิเวศวุ่นวาย ตัวเล็ก แต่.. ร้าย ทำลายสมดุล
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | ตุลาคม 2567

ปลาหมอคางดำ (Blackchin Tilapia) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก แม้จะเป็นปลาขนาดเล็ก แต่สิ่งที่ทำให้ปลาหมอคางดำถูกมองว่าเป็น “ผู้ร้าย” ที่ทำลายระบบนิเวศ เนื่องจากมีความสามารถในการปรับตัวและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถทนทานในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำได้และยังสามารถขึ้นมาบนบกเพื่อย้ายที่อยู่ในระยะเวลาสั้นได้ โดยใช้ครีบและเหงือกช่วยในการหายใจ และยังเป็นนักล่าที่กินทั้งสัตว์และพืช ทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำท้องถิ่นและแหล่งอาหารในระบบนิเวศเดิม การแพร่กระจายพันธุ์ของปลาหมอคางดำจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันการจัดการปลาหมอคางดำในพื้นที่เป็นไปได้ยากเพราะมีจำนวนมหาศาล แม้ในด้านเศรษฐกิจการกำจัดก็ประสบปัญหา เนื่องจากสัตว์น้ำชนิดนี้ไม่มีราคาจูงใจให้คนจับมาทำการค้า ดังนั้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการนำเข้าสัตว์น้ำจากแหล่งอื่น ๆ การควบคุมจำนวนประชากรในแหล่งน้ำ รวมถึงการให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบของปลาหมอคางดำ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศท้องถิ่น

.

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2568” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

.

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

Youtube : สุขภาพคนไทย

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333