ผู้สูงอายุเผชิญกับปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเสื่อมถอยของร่างกายเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท่านั้น แต่เกิดการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างในชีวิต เช่น การสูญเสียบทบาทในครอบครัวหรือสังคมที่เคยมี บางคนเคยเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือผู้มีบทบาทสำคัญ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ กลับลดลง สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่มั่นคง และเกิดความเครียดสะสม
.
ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง หากยังต้องทำงานเพื่อหารายได้ ความเครียดเหล่านี้จะยิ่งทวีคูณ ข้อมูลจากสถาบันราชานุกูลแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่ยังทำงานมีระดับความเครียดสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานถึง 2 เท่า การทำงานในช่วงวัยเกษียณอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นในด้านการเงิน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกายและจิตใจที่อ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น
.
การรับมือกับปัญหานี้คือการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับวัยที่เปลี่ยนไป ผู้สูงอายุที่สามารถยอมรับความจริงและปรับตัวได้จะสามารถลดความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตได้ดีกว่า การทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย หรือการเข้าร่วมกิจกรรมสังคม จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพกายและจิตดีขึ้น นอกจากนี้ การมีระบบสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
.
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
.
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)