วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของคนวัยทำงาน สาเหตุหลักมาจากการตกงาน การลดรายได้ และการล้มละลายของธุรกิจจำนวนมาก ทำให้คนจำนวนมากต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางการเงิน นอกจากนี้ การถูกกักตัวอยู่บ้านและการเว้นระยะห่างทางสังคมยิ่งเพิ่มความเครียด และสร้างความไม่แน่นอนในชีวิตประจำวัน แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไป หลายคนยังคงเผชิญกับปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่สะสม บางคนจำเป็นต้องทำงานชั่วคราวหรืองานที่ไม่ได้เป็นงานประจำเพื่อให้มีรายได้ ความกดดันที่เกิดจากการไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ หรือไม่มีเงินเก็บ ส่งผลให้เกิดความเครียดสูงในทั้งคนทำงานและครอบครัว
.
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า ผลจากปัญหานี้ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางการแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นจาก 1.4 ล้านคน เป็น 2.7 ล้านคน ซึ่งสะท้อนถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ
.
ดังนั้น การปรับตัวและรับมือกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตพอๆ กับสุขภาพกาย นอกจากนี้ ภาครัฐและองค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับการสร้างระบบสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้คนวัยทำงานสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในอนาคตได้อย่างมั่นคง
.
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
.
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)