บทความสั้น
ตอบโจทย์คนไทย เทคโนโลยีใหม่ Smart Hospital ป่วยเล็กน้อย... ไม่ต้องไปหาหมอ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2567

การไปหาหมอ หรือ ไปโรงพยาบาล ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน เนื่องจาก มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งเวลาในการเดินทาง การลางาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในการรับบริการสุขภาพ ซึ่งทำให้หลายคนเลือกที่จะอดทน หรือรอให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย การตัดสินใจไม่ไปหาหมอในบางครั้งอาจดูเป็นทางเลือกที่สะดวก แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงขึ้นหรือกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่มากขึ้น

.

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยแก้ไข “แพลตฟอร์ม A-MED Care Pharma” ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการ ในการบริหารจัดการข้อมูลและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในร้านขายยา โดยมุ่งหวังที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

.

ข้อมูลจากคลังสุขภาพ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนครั้งในการใช้บริการผู้ป่วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยา มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ เดือน ในปี 2566 จากเดือนมกราคม มีจำนวนผู้ใช้ 20,924 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 193,716 รายในเดือนธันวาคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่สูงขึ้น และสะท้อนถึงความสำคัญของการมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้

.

โดยรวมแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูแลสุขภาพให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย แต่ยังช่วยทำให้การเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ง่ายขึ้นและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

.

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

.

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

Youtube : สุขภาพคนไทย

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333