“มลพิษทางอากาศ” โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมีนาคม ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ควันจากยานพาหนะ หรือสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม มลพิษเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้คุณภาพอากาศลดลง แต่ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
จากรายงานสถานการณ์สุขภาพจากคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Centre (HDC) ปี 2563 พบว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่อาจมีความสัมพัน์กับมลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1-13 มีจำนวนมากถึง 6,880,709 ราย โดยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ ไข้หวัด โรคคออักเสบ โรคจมูกอีกเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด มีจำนวนทั้งหมด 2,741,931 ราย
มลพิษทางอากาศเป็นภัยเงียบที่สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายประเภท การตระหนักถึงอันตรายของมลพิษและการดำเนินมาตรการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ รัฐบาลและหน่วยงานต้องมีมาตราการที่เข้มงวดในการควบคุมคุณภาพอากาศ และกลุ่มประชาชนก็ควรตระหนักถึงความเสี่ยงของมลพิษทางอากาศและหาทางป้องกันตนเอง เช่น การสวมหน้ากากอนามัย และการติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดผลกระทบที่จะเกิดต่อสุขภาพ
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวด สถานการณ์เด่น เรื่อง มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนไทย 3 หมื่นคนต่อปี ถึงเวลาทวงสิทธิอากาศสะอาด
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล