ปัญหา “แพทย์ขาดแคลน” เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยต้องเผชิญมาเป็นเวลานาน การขาดแคลนแพทย์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการบริการทางการแพทย์และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและชนบท
สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น แพทย์มีภาระงานที่หนักและทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ทำให้แพทย์ต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการต่อเนื่อง ได้รับค่าตอบแทนน้อย สวัสดิการและคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก มีวัฒนธรรมองค์กรและสิ่งแวดล้อมเชิงลบ ความต้องการแพทย์เพิ่มขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานจำนวนแพทย์ต่อประชากรไว้ที่ แพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รายงานสัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในปี 2564 พบว่า ในประเทศไทยแพทย์ 1 คน ต้องดูแลประชากรมากถึง 1,680 คน ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่ WHO ได้กำหนดไว้
การขาดแคลนแพทย์ทำให้ประชาชนต้องรอการรักษานานขึ้นและมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ไม่ทันการณ์ การแก้ไขปัญหานี้ต้องการการร่วมมือจากหลายฝ่าย รัฐบาลควรมีนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาทางการแพทย์ให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ไปทำงานในพื้นที่ขาดแคลน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกัน การแก้ไขปัญหาแพทย์ขาดแคลนเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนไทย
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวด สถานการณ์เด่น เรื่อง ปัญหาแพทย์ลาออก ควรดำเนินการอย่างไร?
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.creativethailand.org/article-read?article_id=34263