“ระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน” เป็นระบบที่ให้บริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในระดับพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม ทันเวลา และครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารและบุคลากรในระบบสาธารณสุข สถานบริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงประชากรในพื้นที่ ที่จะช่วยกันสังเคราะห์ ที่จะทำให้ระบบเป็นไปตามที่ทุกคนคาดหวัง
โดยแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขฉบับปัจจุบันได้มีการชูแนวคิด “big rock”ที่มีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว และสถานพยาบาล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ โดยครอบคลุม 6 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข 2) การปฏิรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิพลปละประสิทธิภาพของระบบบริการด้านโรคไม่ติดต่อ 3) การปฏิรูประบบบริการผู้สูงอายุ 4) การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนสุขภาพ 5) การปฏิรูปการบริหารจัดการเขตสุขภาพ และ 6) ปฏิรูประบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ
นอกจากนี้ยังมีการวางแผนเพิ่ม อสส. มากขึ้น และจะพัฒนาให้เกิดอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ประจำชุมชน โดยจะให้เด็กรุ่นใหม่ในชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีเป็น เข้าใจการใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อไปสอนคนในชุมชนให้สามารถใช้บริการเทเลเมดิซีน (telemedicine) ได้ ซึ่งแอปพลิเคชันนี้ จะช่วยในการประมวลข้อมูลมาถึงส่วนกลาง ทำให้ภาพรวมของการดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวด สถานการณ์เด่น เรื่อง ปัญหาแพทย์ลาออก ควรดำเนินการอย่างไร?
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.creativethailand.org/article-read?article_id=34263