“การชนแก้ว” ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในวงเหล้า เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความปรารถนาดีต่อกัน การสังสรรค์กับเพื่อน ๆ อาจสร้างความสุข และความสัมพันธ์ที่ดี และแน่นอนว่าปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการแก้ไขกฎหมายสุราที่ให้ประชาชนสามารถกลั่นสุราได้เอง และส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการผลิตสุรา สามารถเข้าสู่ธุรกิจสุราได้ง่ายขึ้น จึงส่งผลให้มีการผลิตและบริโภคสุรามากขึ้น และเมื่อผลิตมาก ขายมาก ย่อมมีอัตราการดื่มมาก และส่งผลกระทบในด้านสุขภาพมากตามไปด้วย
ในระดับโลก พบว่า ทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากแอลกอฮอล์มากกว่า 3 ล้านคน ทำให้องค์การอนามัยโลกกำหนดเป้าหมายเรื่อง NCDs Global Action Plan 2025 ให้ทุกประเทศลดการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 10 โดยกำหนดตัวชี้วัดให้ลดความชุกของการดื่ม เพื่อลดสัดส่วนการเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ ในขณะที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรค NCDs จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน
ข้อมูลของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง รายงาน สถิติการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ย้อนหลังของคนไทย พบว่า คนไทยบริโภคสุรากลั่นเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด โดยในปี 2564 มีการดื่มเฉลี่ย 5.0 กรัมต่อหัวประชากร ส่วนข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ปี 2551 – 2562 พบผู้ป่วยจากการดื่มสุราที่กลั่นเองจำนวนไม่น้อย โดยผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเมทานอลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ซึ่งโรคเหล่านี้มีเครื่องดื่มแอลกอออล์เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญของการเสียชีวิต
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
Youtube : สุขภาพคนไทย
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2565 หมวด สถานการณ์เด่น เรื่อง การแก้ไขกฎหมายสุรา : จากร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า สู่การปลดล็อกสุราชุมชน
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.creativethailand.org/article-read?article_id=34263