บทความสั้น
“ลดความเครียด” ได้ที่ตัวเราเอง
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | กรกฎาคม 2567

“ความเครียด” เป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงที่จะ ส่งผลกระทบต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก

          จริง ๆ แล้วในการรับมือกับความเครียดที่มุ่งเน้นไปจัดการกับความรู้สึกของตนเอง โดยใช้วิธีการจัดการกับความรู้สึกของตนเองไม่ให้เครียด ไม่ว่าจะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของตนเอง เช่น การหาสิ่งบันเทิง การทำกิจกรรมสันทนาการที่ตนเองชอบ การออกกำลังกาย และนอกจากนี้ ยังมีการเบี่ยงเบนความสนใจและรวมถึงการอยู่กับคนที่ตัวเองรู้สึกดี การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนฝูง รวมทั้งการใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

          อย่างไรก็แล้วแต่ “ความเครียด” เป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งจะรู้สึกแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ไม่สามารถตรวจวัดได้ ผลกระทบของความเครียดที่มีต่อตัวเราเป็นคำบอกเล่าของเราเอง การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมท่ามกลางวิกฤติต่างๆ เป็นสิ่งที่ยากแล้ว แต่การมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่เข้มแข็งเป็นเรื่องที่ยากกว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสร้างพื้นฐานด้านจิตใจให้เข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ที่ต้องรู้วิธีการจัดการความเครียดและการบริหารสุขภาพจิตให้เข้มแข็งและรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ ได้ทุกสถานการณ์

 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

 

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

Youtube : สุขภาพคนไทย

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

 

ข้อมูลอ้างอิง

รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวดเรื่องพิเศษ เรื่อง ความเครียดภัยเงียบของสังคมไทย

สืบค้นจาก :

สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล

https://www.manarom.com/blog/Adjustment_Disorder.html

https://www.sikarin.com/health/


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333