บทความสั้น
การทำนาที่ยั่งยืน สู่การลดก๊าซเรือนกระจก
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | มิถุนายน 2567

รู้หรือไม่ “ภาคการเกษตร” เป็นภาคที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากภาคพลังงาน และ “การทำนาข้าว” ของไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเกษตร ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการ

          ในการปรับวิธีการทาการเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น กระทรวงเกษตรฯ มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดภาวะโลกร้อนจาก การทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice Nationally Appropriate Mitigation Action หรือ Thai Rice NAMA) เป็นตัวอย่างที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถีการทำนาข้าว ซึ่งแต่เดิมมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก จากการปรับหน้าดิน การใช้น้ำ การใช้ปุ๋ย และคาดว่าในการทำนาข้าวในแต่ละปีปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 44 โดยโครงการ Thai Rice NAMA เป็นองค์กรที่ช่วยพัฒนาการปลูกข้าวของไทยให้สามารถเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้น้ำ และที่สำคัญช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

         

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

 

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

Youtube : สุขภาพคนไทย

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

 

ข้อมูลอ้างอิง

รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวดเรื่องพิเศษ เรื่อง คำสัญญาของไทยในคอป (COP: Conference of Parties) กับการรับมือโลกรวน

สืบค้นจาก :

สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333