ผู้สูงอายุมักมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมถอยลงไปทั้งทาง ร่างกาย อารมณ์ สภาพจิตใจ และสภาวะทางเศรษฐกิจ โดยทุกการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้ไม่เหมือนเดิม
ผู้สูงอายุที่สามารถปรับตัวพยายามหาทางออกให้กับตนเอง เพื่อให้รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า เช่น การได้ทำกิจกรรมที่ชอบ รวมทั้งทำหน้าที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ในครอบครัวของตนเอง ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนมีการเตรียมตัวเผชิญหน้ากับวาระสุดท้ายที่ใกล้เข้ามา การยอมรับความเจ็บป่วย ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี สามารถใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองหาเลี้ยงตนเอง ปรับตัวยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ดี มักจะไม่มีความเครียด ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ทำให้สภาพจิตใจได้รับผลกระทบตามมา สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการมหกหมุ่นกับเรื่องของตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาก็ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก อาจแสดงออกมาในรูปแบบของอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความโกรธ ฉุนเฉียว เบื่อหน่าย จนกระทั่งกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวดเรื่องพิเศษ เรื่อง ความเครียด ภัยเงียบในสังคมไทย
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล