“ฝุ่น PM2.5” เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ปริมาณPM2.5 เป็น 1 ใน 8 ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
สำหรับ “แหล่งกำเนิด” PM2.5 ต้องพิจารณาว่า สารมลพิษนั้นมาจากแหล่งกำเนิดประเภทใดบ้าง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งฝุ่นควันที่มาจากอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตสิ่งของอุปโภค บริโภคต่างๆ ที่ต้องมีการปล่อยควันในกระบวนการผลิต และการเผาไหม้ต่างๆ แต่สำหรับประเทศไทยสาเหตุหลักของการเกิด PM2.5 มาจากการเผาไหม้ในที่โล่ง การเผาไหม้ในพื้นที่เกษตร ควันจากไอเสียของยานพาหนะต่างๆ และจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
นอกจากการพิจารณาถึงแหล่งกำเนิดของ PM2.5 แล้ว ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน คือ “ปริมาณ” PM2.5 และมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงปริมาณอากาศที่เราหายใจเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการปลดปล่อยมลพิษในปริมาณมากและไม่มีการดักจับหรือกำจัดอย่างเหมาะสม จะมีความเข้มข้นของมลพิษสูง ส่งผลให้ประชากรมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม คนแต่ละคนอาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน แม้จะได้รับปริมาณ PM2.5 เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เท่ากัน เนื่องจากความไวต่อการรับสารมลพิษแตกต่างกัน ทำให้คนบางคน/บางกลุ่ม มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 สูงกว่าคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ เรื่อง มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนไทย 3 หมื่นคนต่อปี: ถึงเวลาทวงสิทธิอากาศสะอาด
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล