‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าเรามีความมั่นคงทางอาหารในการดำรงชีวิต สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
ความมั่นทางอาหาร (food security) เป็นคำที่่เกิิดขึ้นในช่่วงที่่เกิดวิกฤตการณ์์ขาดแคลนอาหารอย่่างหนััก โดยองค์์การอาหารและเกษตรแห่่งสหประชาชาติิ (FAO) ได้ให้ความหมายว่่า สภาวะที่ทุกคนและทุกขณะเวลามีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจที่่สามารถเข้้าถึงอาหารที่่เพีียงพอปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้้านอาหาร เพื่่อให้้เกิิดชีวิีิตที่่มีีพลัังและมีสุขภาพ
ความมั่นคงทางอาหาร คือสภาวะที่ทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ
ในทุกช่วงเวลา ไม่ว่่าจะด้วยความสามารถทางกายภาพหรือเศรษฐกิิจก็็ตาม อีกทั้งอาหารที่ได้รับจะต้องปลอดภัย มีคุณค่าด้านโภชนาการต่อร่างกาย โดยมีีองค์์ประกอบ 4 ด้้าน ได้้แก่่
1. การได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
2. การเข้าถึงอาหาร ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่เหมาะสมกับตนเองบนพื้นฐานของโภชนาการที่ดี
3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร ตามหลักทางด้านความปลอดภัยของสุขอนามัย
4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร โดยบริหารจัดการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะมีเหตุวิกฤตฉุกเฉินต่าง ๆ
ทั้งนี้ ความมั่่นคงทางอาหารไม่่ได้้มีีเพีียงมิิติิด้้านการผลิิตเท่่านั้น แต่ยังเชื่่อมโยงกัับประเด็็นอื่่น ๆ เช่่น การเข้าถึงอาหารการผลิตอาหารอย่่างสม่ำเสมอ ความปลอดภััยทางอาหาร และความมั่นทางอาหารของชุมชนอีกด้วย
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ เรื่อง ประเทศไทยกับความมั่นคงทางอาหาร
สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล