บทความสั้น
“เตรียมที่อยู่” ให้เหมาะกับผู้สูงวัย
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | เมษายน 2567

ในปัจจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘ผู้สูงวัยมักติดบ้าน’ กันอยู่บ่อยครั้ง เพราะไม่มีที่ไหนทำให้เรารู้สึกอิสระและมีความสุขได้มากเท่าที่บ้านของเรา แนวคิด “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” (Aging in Place) เป็นแนวคิดที่ถูกนำมาพัฒนาในการออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความสุข และปลอดภัย

มิิติิสภาพแวดล้้อมและที่อยู่่อาศััยมีีความสำคัญต่่อสุุขภาพและความปลอดภััยของผู้สูงอายุ โดยร้้อยละ 5 ของผู้สูงวัยเคยหกล้มภายในตััวบ้านและบริิเวณตััวบ้าน ดังนั้นสภาพแวดล้้อมและการออกแบบบ้้าน พร้้อมติิดตั้งอุุปกรณ์์อำนวยความสะดวกให้้ผู้้สููงอายุุจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกัันอุบััติิเหตุ และพััฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ร้อยละ 17 ของผู้สููงอายุุมีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อปี และไม่มีเงินออมเลย ร้อยละ 3 เป็นผู้สูงวัยติดบ้านและติดเตียง อีกทั้งร้อยละ 1 เป็นผู้สููงวัยที่่โสดและอาศััยอยู่ตามลำพังคนเดียว

ดังนั้น การดูแลในด้านสภาพแวดล้อมและระบบสวัสดิการของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ เพื่อให้ผู้สูงอายุุสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านของตนได้ โดยไม่ถูกทอดทิ้ง และสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย ในอนาคตจะต้องมีการปรับเปลี่ยนและเตรียมความพร้อม ในด้านสภาพแวดล้อมและที่่อยู่อาศัย ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ให้พร้อมเพื่อรองรับผู้สููงอายุุ

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

 

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

 

ข้อมูลอ้างอิง

รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ เรื่อง ปัญหายาเสพติดในชุมชน จะควบคุมอย่างไร ?

สืบค้นจาก :

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

https://mqdc.com/th/aspentree/wellness-info/lifestyle/127/aging-in-place


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333