“ชุมชน” เป็นพื้นที่ ที่คนอาศัยอยู่ร่วมกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่งชุุมชนมีีศัักยภาพอย่่างมากในการสร้้างเสริิมสุุขภาพที่่ดีีของประชาชนในพื้นที่่ โดยผ่่านการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรมที่่เอื้อต่อวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและยังสามารถขัับเคลื่่อนให้้เกิิดการเปลี่่ยนแปลงสุุขภาพของคนในชุุมชนได้้
จากโครงการการศึึกษาสถานการณ์์การบริิโภคผัักและผลไม้้ของคนไทย (ระดัับประเทศ) พ.ศ. 2565 พบว่า ผู้ได้้เข้้าร่่วมกิิจกรรมการมีีส่่วนร่่วมของชุุมชน หรือรับรู้การรณรงค์จากชุมชนของตนเอง ยิ่งมีระดับการรับรู้การรณค์มากเท่าใด ยิ่งมีสัดส่วนการบริโภคผัก ผลไม้ที่เพียงพอเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่รับรู้การรณรงค์จากชุมชนของตนเอง ในระดับปานกลาง ถึง มากที่สุด
มีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอ ถึงร้อยละ 47.9 ในขณะเดียวกันคนที่รับรู้การรณรงค์ในระดับน้อยและน้อยที่สุด มีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอ ร้อยละ 41.5 แต่ผู้ที่ไม่เคยรับรู้การรณรงค์จากชุมชนเลย มีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอ เพียงร้อยละ 30.9 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม “ชุมชน” เป็นสิ่งที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ที่อาศัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมของชุมชนที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน ถ้าสภาพแวดล้อมในชุมชนดี ย่อมส่งผลดีต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเช่นกัน
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวดตัวชี้วัด เรื่อง สภาพแวดล้อมชุมชน
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล