ในปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงเป็นของต้องห้ามในประเทศไทย โดยถูกจัดว่าผิดกฎหมาย และห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557 ภายใต้ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ปัจจุบันผู้ฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมถูกยึดสินค้า
จากรายงาน การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้ที่สูบมากกว่า 2 ใน 3 เป็นการซื้อจากแหล่งที่มีการโฆษณาและเสนอขายผ่านสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Line, Facebook, Twitter, Instagram, Website มากที่สุด ร้อยละ 68.7 รองลงมา ได้บุหรี่ไฟฟ้ามาฟรี ร้อยละ 11.7 และสามารถหาซื้อได้ตามแผงลอยข้างถนน เร่ขาย ตลาดนัด ร้อยละ 10.0 จะเห็นได้ว่าช่องทางการซื้อขาย “บุหรี่ไฟฟ้า” มาจากแหล่งที่มีการโฆษณาและเสนอขายผ่านสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ มากที่สุด ซึ่งทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าดูแล รวมถึงจัดการและควบคุมได้ยาก
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายควบคุมยาสูบทั่วประเทศได้มีการรณรงค์ สนับสนุนให้คงกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงรณรงค์ให้ประชาชนทุกวัยรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และร่วมกันผลักดันมาตรการต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ก็เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนไทย
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง
รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวดตัวชี้วัด เรื่อง การตลาดดิจิทัล
สืบค้นจาก :
สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.thaipbs.or.th/news/content/324115
https://www.bangkokbiznews.com/corporate-moves/lifestyle/judprakai/1073089