“ความเครียด” สามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย เพราะทุกช่วงวัยต่างต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายในชีวิต ซึ่งมักจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นสถานการณ์ความเครียดของแต่ละคนจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ต่างกันออกไป
กลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดสูงกว่าวัยทำงานถึง 4 เท่า เนื่องจาก “เด็กไทยมีชั่วโมงเรียนเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก จำนวน 1,200 ชั่วโมงต่อปี”
ทำให้เด็กต้องเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า “การถูกเร่งรัด (Hurried Child Syndrome)” ซึ่งหมายถึง การที่ผู้ปกครองคาดหวังให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ที่เกินกว่าระดับความสามารถของเด็ก อยากให้ลูกมีพัฒนาการที่รวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ผลักดันลูกให้ประสบความสำเร็จทางวิชาการ ต้องการให้เด็กเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ปกครอง และเมื่อพ่อแม่เร่งพัฒนาการของเด็กเร็วเกินไปและทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เด็กได้รับความกดดันจากความคาดหวังและประสบการณ์ที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย เด็กไม่มีเวลาได้วิ่งเล่น หรือได้ใช้ชีวิตแบบเด็กทั่วไป
นับเป็นการสร้างความเครียดให้กับเด็กในระยะยาว ความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กที่เร่งรีบ จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพและความเครียด หรือโรคซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่การหาทางออกด้วยการใช้ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการฆ่าตัวตายในที่สุด
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” (ซึ่งจะเผยแพร่ช่วงเดือนเมษายน 2567) ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวดเรื่องพิเศษประจำฉบับ เรื่อง ความเครียด ภัยเงียบในสังคมไทย สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล