บทความสั้น
คนไทยใช้ “กัญชา” ทำอะไรกันนะ ?
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | เมษายน 2567

ในปี 2565 กัญชาได้ถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 การใช้กัญชาในกลุ่มประชาชนจึงกลายเป็นประเด็นที่ต้องจับตาเฝ้าระวัง โดยเฉพาะการใช้ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงภายหลังการถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ

จากการสำรวจ โครงการสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์ และการใช้แบบสันทนาการ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการสำรวจการใช้กัญชาในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนกัญชาถูกถอดออกจาบัญชียาเสพติดให้โทษ พบข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเพศและรวมไปถึงวัตถุประสงค์ของการใช้กัญชา โดยพบว่า ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป กลุ่มเพศชาย ร้อยละ 14.4 สูบกัญชาเพื่อใช้สันทนาการ ร้อยละ 7.3 ใช้เพื่อการปรุงอาหาร มีเพียงร้อยละ 1.5 ที่ใช้เพื่อการรักษาโรค ในขณะที่เพศหญิงสูบกัญชาเพื่อใช้สันทนาการ ร้อยละ 1.8 และใช้เพื่อการปรุงอาหาร และรักษาโรค ร้อยละ 0.8

สิ่งที่น่าพิจารณาต่อมาก็คือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนรับทราบและให้ความร่วมมือ เพื่อเป็นควบคุมการใช้กัญชาให้มีความเหมาะสม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดผลกระทบด้านลบจากการใช้กัญชา และป้องกันการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

 

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

 

ข้อมูลอ้างอิง

รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวดตัวชี้วัด เรื่อง การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด

สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล

สืบค้นจาก : https://www.hfocus.org/content/2023/02/27036

             : โครงการสำรวจความรู้ ความเข้าใจและความคิดเห็นของประชาชน ต่อ               เรื่องกัญชาทางการแพทย์และการใช้แบบสันทนาการ: กรณีศึกษา                    ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พ.ศ. 2563


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333