โครงการ Land bridge เป็นหนึ่งในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ว่าด้วยเรื่องของการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ผ่านการสร้างทางเชื่อมท่าเรือชุมพร-ระนอง(อ่าวไทย- อันดามัน) โดยการสร้างท่าเรือน้ำลึก ทางหลวง 6 ช่องทางเป็นระยะ 90 กิโลเมตร รวมไปถึงการสร้างระบบขนส่งทางท่อ และการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ เพื่อง่ายต่อการขนส่งสินค้า
จากการประเมิน คาดว่า โครงการ Land bridge จะสามารถเกิดเป็นเขตอุตสาหกรรมใหม่และขยายฐานทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และทำให้ GDP ของประเทศโตขึ้นได้ถึง 6 % นอกจากนี้ระบบขนส่งที่มีความเชื่อมโยงกันในหลายระบบ และช่วยลดเวลาขนส่งลงได้ถึง 5 วัน
หากโครงการฯ ผ่านการอนุมัติจะเกิดการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อหลายๆ เรื่อง ในพื้นที่ก่อสร้างไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมทั้งในทะเลและบนบก เพราะการก่อสร้างต้องทำลายป่าเพื่อสร้างถนนและรางรถไฟทางเชื่อม ยังไม่รวมถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่จะสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตและการทำประมงของคนในพื้นที่ในระยะยาวอีกด้วย
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบจัดการต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และพื้นที่ทำกินที่อาจได้ไม่คุ้มเสียในระยะยาว
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องศึกษาและชั่งน้ำหนัก ผลดี ผลเสีย แนวทางการป้องกันและแนวทางการรับมือระยะยาว เพื่อลดผลกระทบและหาทางออกร่วมของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาวทั้งต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “สถานการณ์เด่น ในปี 2566” ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวด 10 สถานการณ์เด่น เรื่อง โครงการ Land bridge : ประโยชน์และความเสี่ยง