เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2566 เกิดเหตุการณ์เหล็กรางรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี บริเวณหน้ากรมชลประทาน ปากเกร็ด ร่วงหล่นลงมาใส่รถยนต์จำนวน 3 คัน ทำให้หลังคาและกระจกหน้ารถแตกเสียหาย เคราะห์ดีที่ครั้งนี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต…
เหตุการณ์ข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของอุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นซ้ำซากและสร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมาโดยตลอด โดยก่อนหน้านี้ ได้มีอุบัติเหตุโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถล่มจนมีผู้เสียชีวิต และเหตุการณ์ โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ที่ชิ้นส่วนคานหล่นลงมาพร้อมกับคนงาน เพราะเหล็กยึดโครงสร้างขาด จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เกิดขึ้นในเวลาเพียง 1 ปี โดยไม่รวมอุบัติเหตุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
จากข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน พบว่า “จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากอุตสาหกรรมก่อสร้างติดอันดับหนึ่งมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” ซึ่งสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก โดยในปี 2562 พบว่า มีสัดส่วนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการก่อสร้างสูงถึง 29%
“อุบัติเหตุซ้ำซาก” เกิดขึ้นหลายครั้งในรอบปี ทำให้ประชาชนตั้งคำถามถึงมาตรฐานการก่อสร้างและความปลอดภัยสาธารณะ บทเรียนที่เกิดขึ้นทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาวิธีจัดการปัญหาและยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบโครงการก่อสร้างอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง