บทความสั้น
"อัตราการเกิดต่ำ" ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในสังคมสูงอายุ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | มกราคม 2567

ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาอัตราการเกิดใหม่น้อยลง สวนทางกับอัตราผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลทะเบียนราษฎร ปี 2565 พบว่า มีคนเกิดน้อยกว่าคนตายถึง 93,858 คน และจำนวนเด็กเกิดลดต่ำลงกว่าปี 2564 ถึง 42,463 คน

ในด้านเศรษฐกิจ...อัตราการเกิดที่น้อยลง และสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากสัดส่วนคนวัยทำงานที่ลดลง จะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ทำให้ค่าจ้างแรงงานและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในระยะยาว ทำให้ประเทศไทยต้องมีการนำเข้าแรงงานมากขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น


    นอกจากนี้ การบริโภคภายในประเทศที่ลดลง จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ภาครัฐไม่สามารถเก็บภาษีได้อย่างเพียงพอเพื่อมาดูแลสวัสดิการของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผู้สูงอายุจะต้องพึ่งพิงรายได้จากลูกหลานมากยิ่งขึ้น


    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ปราโมทย์ ประสาทกุล ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ช่องว่างระหว่างจำนวนการเกิดและการตายของประเทศไทยในปี 2565 ยิ่งกว้างขึ้น อัตราเกิดเท่ากับ 7.6 ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราตายเท่ากับ 8.9 ต่อประชากร 1,000 คน ทำให้อัตราเพิ่มตามธรรมชาติในไทย ติดลบ 0.1%” จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าหากอัตราการเกิดยังคงน้อยลงไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสังคมในด้านอื่นๆ เป็นอย่างมาก

 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333