“ความเสมอภาคทางเพศ” ในการเข้าถึงการศึกษาของประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นสำหรับระดับปฐมวัยและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยดัชนีความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Parity Index: GPI) ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
ดัชนีความเสมอภาคทางเพศ คือ อัตราส่วนระหว่างอัตราการเข้าเรียนสุทธิของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง มีค่าระหว่าง 0 - 1 ถ้าเป็น 0 แสดง มีความไม่เท่าเทียมของการเข้าศึกษา แต่ถ้าเป็น 1 แสดงว่า มีความเสมอภาคทางการศึกษามากที่สุด
จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า ในปี 2563 ดัชนีการศึกษาในระดับปฐมวัย มีค่าความเสมอภาคทางเพศด้านการศึกษามากที่สุด โดยมีค่าดัชนีความเสมอภาคทางเพศคือ 1 รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและประถมศึกษา ที่มีค่าดัชนีความเสมอภาคทางเพศคือ 0.97 และ 0.93 ตามลำดับ และระดับการศึกษาที่มีค่าดัชนีความเสมอภาคทางเพศน้อยที่สุด คือ มัธยมปลาย ซึ่งมีค่าเพียง 0.83
จากข้อมูลดังกล่าว มีเพียงการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่มีค่าดัชนีความเสมอภาคลดลงจากในปี 2562 หรือกล่าวคือ มีความไม่เท่าเทียมทางเพศมากขึ้นในด้านการศึกษา แต่ในทางกลับกัน การศึกษาระดับมัธยมปลาย ที่แม้ว่าจะมีค่าดัชนีความเสมอภาคทางเพศน้อยที่สุดในปี 2563 แต่ถ้าเทียบกับในปี 2562 แล้ว กลับมีแนวโน้มค่าดัชนีความเสมอภาคทางเพศที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้นนั่นเอง
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง