บทความสั้น
“ความเป็นกลางทางคาร์บอนและลดก๊าซเรือนกระจก” เกิดขึ้นได้ด้วยการปลูกป่า
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | ธันวาคม 2566

จากปัญหาภาวะโลกร้อนสู่การประชุม COP (Conference of Parties) เพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุม COP 26 ว่าพร้อมที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality) ภายในพ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์(Net zero) ใน พ.ศ.2608 ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยหนึ่งในนั้นคือการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

จากนโยบายป่าไม้แห่งชาติที่กำหนดให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ได้ร้อยละ 55 ภายใน พ.ศ.2580 โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว และมีหน่วยงานสนับสนุนทั้งจากภาครัฐอย่าง กฟผ. ที่ร่วมมือกับกรมป่าไม้ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมทรัพยากรทะเล และภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนทำให้เกิดเป็นโครงการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากมาย ทำให้เห็นแล้วว่า “ประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามที่จะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้"


ทำไมการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว จะช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และNet zero ได้?
จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า “ต้นไม้ 1 ต้น” สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับ 2 คนต่อปี สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยเฉลี่ย 9-15 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และสามารถลดอุณหภูมิรอบพื้นที่ปลูกได้ถึง 2-4 องศาเซลเซียส 


ดังนั้น “การปลูกป่าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว” จึงเป็นการดำเนินการที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์และบรรลุค่าความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ที่ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้เป้าหมายนี้บรรลุได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า จึงต้องพิจารณาต้นเหตุที่แท้จริงของการเกิดมลพิษ และช่วยกันผลักดันให้ได้รับการแก้ไข จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลลัพธ์และเกิดความยั่งยืนมากที่สุด

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333