บทความสั้น
นิยามความหวานลดความเครียดจริงหรือไม่?
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | ธันวาคม 2566

“ช่วงนี้ดูเครียดๆ นะ ไหวมั้ย?...ออกไปหาของหวานกินหน่อยมั้ย” คำเชิญชวนปนคำปลอบใจจากคนรอบตัวเราเวลาเห็นเราหน้านิ่วคิ้วขมวดและแผ่รังสีความเครียดใส่อย่างไม่รู้ตัว การกินของหวาน ดูจะเป็นทางออกที่ง่าย รวดเร็วและเป็นคำพูดของใครหลายๆ คนที่อยากให้เรารู้สึกดีขึ้น แต่การกินของหวานตอนเครียด ช่วยได้จริงๆ หรือไม่?

เมื่อได้ลองศึกษาก็พบว่า เมื่อร่างกายเข้าสู่สภาวะเครียดจะมีการตอบสนองออกมาให้เห็นทางกายภาพเช่น การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การสูบฉีดเลือดไปจนถึงการของขยายม่านตา “เซลล์กล้ามเนื้อ”จะมีการใช้พลังงานจาก “น้ำตาลในรูปแบบกลูโคสหรือไกลโคเจน”และทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำลง จากนั้น ร่างกายของเราจะตอบสนองผ่านระบบประสาทอัตโนมัติและสั่งการผ่านฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อโดยเข้าสู่กระบวนการรักษาสมดุลร่างกายเพื่อต่อต้านกับความเครียด 


ความเครียดทำให้น้ำตาลในเลือดที่ต่ำลงจากการถูกใช้งานที่เซลล์ ส่งผลให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล(ฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด) จะถูกหลั่งออกมามากขึ้นและเข้าไปกดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะให้ทำงานน้อยลง เมื่อฮอร์โมนอินซูลินถูกกดไว้จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นซึ่งในขณะเดียวกันนั้น ฮอร์โมนกลูคากอนและฮอร์โมนเอพิเนฟริน ก็หลั่งมากขึ้นเพื่อกระตุ้นตับให้ดึงคาร์โบไฮเดรตมาเก็บไว้ในรูปแบบไกลโคเจนและสลายเป็นกลูโคสจนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปใช้ในเซลล์หรือกล้ามเนื้อนั่นเอง


ในสภาวะที่เครียดฮอร์โมนข้างต้น จะหลั่งจนกว่าการตอบสนองทางกายภาพจะหยุดลง หรือร่างกายของเรากลับเข้าสู่สภาวะสมดุล ซึ่งปริมาณน้ำตาลในเลือดจะมีความสัมพันธ์กับความเครียดที่ลดลงจากระบบสรีระของร่างกายและจากรสชาติหวานที่ทำให้ผ่อนคลายลงด้วยเช่นกัน 


แม้ความหวานจะช่วยลดความเครียดได้ตามกลไกลการทำงานของฮอร์โมนและการปรับสภาพการทำงานของร่างกาย แต่ก็อย่าลืมว่าการรับประทานของหวานมากเกินไปก็นำมาซึ่งโรคภัยต่างๆ ได้เช่นกัน จึงต้องมีความระมัดระวังให้อยู่ในปริมาณที่พอดี และหาทางอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและอารมณ์ของตนเองและผู้คนรอบข้าง

 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333