ปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยมีหลายมิติ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ที่ส่งผลต่อมิติอื่นๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งจากปัญหานี้ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดและดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำมาอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) ในปี 2573 ซึ่งจากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายได้ ของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค กล่าวคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนไทยมีแนวโน้มที่ลดลง
สัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ หมายถึง ค่าความเหลื่อมล้ำหรือค่าที่แสดงความแตกต่างของรายได้ของครัวเรือน มีค่าระหว่าง 0 - 1 ถ้าเป็น 0 แสดงว่า ไม่มีความแตกต่างของรายได้ แต่ถ้าเป็น 1 แสดงว่า มีความแตกต่างของรายได้มากที่สุด
จากข้อมูลทางสถิติพบว่าในปี พ.ศ.2564 สัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ทั่วราชอาณาจักรมีค่าสัมประสิทธิ์เป็น 0.430 โดยในกรุงเทพมหานครมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.375 ภาคกลางมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.386 ภาคเหนือมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.404 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.423 และภาคใต้ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ที่มากที่สุดถึง 0.434 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากหลายปีที่ผ่านมา
ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ส่งผลกระทบในมิติอื่นๆ เป็นอย่างมาก เพราะรายได้เป็นปัจจัยแรกที่จะทำให้เราเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานของชีวิตและสังคม หากเกิดความเหลื่อมล้ำมากคนที่มีรายได้ต่ำก็ยากที่จะเข้าถึงปัจจัยเหล่านั้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิต สุขภาพ การศึกษาและสิ่งต่างๆ เข้าถึงได้ยากกว่าคนที่มีรายได้สูง ประเทศไทยจึงมีความพยายามที่จะลดความเหลื่อมล้ำ โดยใช้มาตรการการเก็บภาษีแบบขั้นบันไดมาช่วยและการออกนโยบายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจากความปัญหาความเหลื่อมล้ำอีกด้วย
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง