บทความสั้น
“เอลนีโญ” กับภูมิอากาศสลับขั้ว : กระทบกับประเทศไทยอย่างไร?
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | พฤศจิกายน 2566

จากบทความที่แล้วในเรื่อง “เอลนีโญ” ทำภูมิอากาศสลับขั้ว : มีกลไกการเกิดอย่างไร ทำให้เรารู้ว่าเมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะแห้งแล้งจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนน้อยลง ซึ่งในปี 2023 ปรากฏการณ์เอลนีโญจะเพิ่มเป็นระดับปานกลางในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ทำให้เกิดความแห้งแล้งมากขึ้น


เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ภาวะแห้งแล้งจะทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ หรือน้ำท่วม ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมแหล่งกักเก็บน้ำสำรองและแผนจัดสรรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเกิดขึ้นเพราะประเทศไทยเป็นเมืองของการทำเกษตร ทำให้น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด


ภาวะขาดแคลนน้ำ เป็นผลกระทบที่ใหญ่มากของประเทศไทยสามารถดูได้จากเหตุการณ์ ช้างป่าและเสือที่ห้วยขาแข้งออกจากป่ามาหาอาหาร ได้ทำลายพืชไร่และทำร้ายชาวบ้าน เนื่องจาก “ภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ” ซึ่งเป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ 


นอกจากนี้ ภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากที่กล่าวในตอนแรกว่าประเทศไทยพึ่งพาภาคเกษตรกรค่อนข้างสูง การที่ปริมาณฝนน้อยลงทำให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร เมื่อน้ำไม่เพียงพอ ผลผลิตลดน้อยลงทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ราคาสินค้าภาคการเกษตรในประเทศจะสูงขึ้น และที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ ภาคการส่งออกผลผลิตอย่างข้าวสารที่ผู้ส่งออกประเมินว่า ปี 2567 การส่งออกข้าวลดลงเหลือ 7.5 ล้านตันเท่านั้น


จากข้อมูลและเหตุการณ์ข้างต้น ทำให้รู้ว่าผลกระทบจากเอลนีโญ ไม่ใช่แค่เรื่องสภาพอากาศเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อภาคการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และแทบจะทุกมิติของการเป็นอยู่ของสังคม

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333