“โรคไข้เลือดออก” เป็นหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เวียนมาสู่คนไทยทุกปีเมื่อถึงฤดูฝน โดยในปี 2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกพุ่งสูงถึง 6,000 รายต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่า 3 เท่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีผู้ป่วยสะสมถึง 6.5 หมื่นรายและเสียชีวิตแล้วกว่า 58 คน และแนวโน้มผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะมีการระบาดอย่างหนักในเขตชุมชนเมืองซึ่งมี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ
ทำไมไข้เลือดออกถึงระบาดหนักในเขตชุมชนเมือง? ... สาเหตุหลัก ๆ คือ “ความหนาแน่นของพื้นที่และประชากร ที่มีการขยายตัวของพื้นที่เขตเมืองที่มีมากกว่าชนบท” ทำให้เกิดปัญหาตามมาในเรื่องของการบริหารจัดการแหล่งน้ำขัง เกิดแหล่งน้ำนิ่งมากขึ้น สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และเป็นแหล่งที่เหมาะกับการเพาะพันธุ์ยุงลายมากที่สุด
“น้ำนิ่งที่เกิดจากน้ำขัง” และ “อุณหภูมิที่สูงขึ้น” ทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี กลายเป็นการระบาดของโรคในวงกว้าง ทำให้มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกมากขึ้น แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองของเราไม่สามารถกำจัดยุงให้หมดไปได้ 100%
เราสามารถทำให้เมืองลดการระบาดนี้ได้ โดยการเก็บที่พักอาศัยให้สะอาด เก็บขยะ ภายในบริเวณบ้านและชุมชน เทน้ำขังทิ้ง เก็บภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ รวมไปถึงการทำความสะอาดแหล่งน้ำนิ่งในเขตชุมชน เพื่อลดและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรคและลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)
ข้อมูลอ้างอิง