บทความสั้น
เบาหวานไม่เบาใจ NCDs ในคนไทยใกล้ตัวแค่ไหน?
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | พฤศจิกายน 2566

NCDs (Non-Communicale diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกำลังเผชิญกับโรค NCDs มากกว่า 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านคนในปี 2583

พฤติกรรมหลักที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรค NCDs คือ “พฤติกรรมการบริโภคอาหาร” โดยเฉพาะของหวาน มัน เค็ม ซึ่งปัจจุบันมีมาในรูปแบบอาหารแปรรูป แต่ความสะดวกสบายในยุคปัจจุบันที่ส่งผลถึง “พฤติกรรมการออกกำลังกาย” ที่ทำให้เรามีการออกกำลังกายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “กลุ่มคนวัยทำงาน” ที่มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ต้องการความเร็ว ส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและกลายเป็นโรค NCDs ในที่สุด

จากผลสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมการดื่ม “น้ำชง” มากถึงร้อยละ 26.3 “เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์บรรจุขวด” ร้อยละ 18.9  “เนื้อสัตว์แปรรูป” ร้อยละ 16.9 “อาหารไขมันสูง”  ร้อยละ 16.1 และ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ร้อยละ 1.4  ซึ่งอาหารเหล่านี้มักจะมีรสชาติหวานและเค็ม

เราสามารถป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้ง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม และอาหารแปรรูป พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333