บทความสั้น
“ควงกะ-ลากเวร” ต้นปัญหาการลาออกของแพทย์
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | ตุลาคม 2566

     

 

     เมื่อมาตรฐานโลกกำหนดให้ สัดส่วนของแพทย์ต่อประชากรเป็น 3 ต่อ 1,000 คน แต่ในประเทศไทยกลับมีสัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,000 คน ทำให้แพทย์ต้องรับภาระงานมากถึง 20 เท่า โดยอาจจะต้องเข้ากะเย็นรวบถึงกะเช้า หรือทำงานติดต่อกันสูงถึง 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งที่ควรทำงานเพียง 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น

     ปัญหาการทำงานที่หนักเกินไป ทำให้เกิดภาวะ “work ไร้ Balance” นอกจากจะต้องทำงานอย่างหนักจนทำให้เสียสุขภาพกายแล้ว ยังทำให้เสียสุขภาพจิตอีกด้วย จากระบบภายในองค์กรที่บางครั้งก็บั่นทอนการทำงานไม่น้อย ส่งผลให้มีแพทย์ลาออกจากระบบมากขึ้น โดยอาจจะไปประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือออกไปทำงานกับเอกชนที่ค่าตอบแทนสูงแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า


    จากข้อมูลพบว่า “แพทย์อินเทิร์น” หรือที่เรียกว่า “แพทย์ใช้ทุน” ที่ต้องเพิ่มพูนทักษะ 1 ปีพร้อมกับการทำงานใช้ทุนไปด้วย มีภาระงานมากขึ้นจากงานใช้ทุนถึง สัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นได้ถึง 60 ชั่วโมง
    การลาออกของแพทย์ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2556-2565) พบว่า มีแพทย์ลาออกเฉลี่ยปีละ 455 คน ส่วนมากจะเป็นแพทย์ใช้ทุนปี 2 เนื่องจากสามารถไปศึกษาต่อได้แล้วเพราะผ่านการเพิ่มพูนทักษะที่ลาออกมากถึง 1,875 คน คิดเป็น 9.7 % เฉลี่ยปีละ 188 คนและเมื่อรวมกับแพทย์ที่เกษียณปีละ 150-200 คน จึงมีแพทย์ออกจากระบบเฉลี่ยปีละประมาณ 655 คนเลยทีเดียว


    จากปัญหาและการสำรวจที่ออกมานั้น มีแนวโน้มที่แพทย์จะลาออกจากระบบมากขึ้นหากทั้งตัวระบบและค่าตอบแทนยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น หากมองถึงปัญหาที่แท้จริงแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ข้อจำกัดเรื่องจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอและข้อจำกัดด้านงบประมาณ เป็นต้นเหตุปัญหาของการ “ควงกะ-ลากเวร” มากที่สุด หากมีการแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง แพทย์จะทำงานแบบ Work life balance ได้มากยิ่งขึ้นและการลาออกจากระบบน้อยลงได้

    ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333