บทความสั้น
“อาชญากรรมไซเบอร์” การหลอกลวงที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2566

     ปัจจุบันนอกจากเรื่อง การตลาดที่ทำให้เราหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง จะทำให้เราพลาดพลั้งกดซื้อสินค้าโดยลืมศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว “อาชญากรรมออนไลน์” ก็เป็นหนึ่งปัญหาที่กำลังระบาดบนโลกออนไลน์และสร้างผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน

     จากข้อมูลการสำรวจจาก ศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2566 มีการแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ถึง 341,733 เรื่อง และการโทรผ่านสายด่วนจำนวน 164,096 สาย และมีการแจ้งความที่หน่วยงาน 53,864 เรื่อง โดยเป็น “คดีออนไลน์” จำนวน313,804 เรื่อง เลยทีเดียว จากสถิติพบว่าจากสัดส่วนทั้งหมดของคดีออนไลน์ แบ่งเป็นเรื่องของการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการร้อยละ 38.9 การหลอกลวงเพื่อทำงานคิดเป็นร้อยละ 13.3 การหลอกให้กู้เงินคิดเป็นร้อยละ 12.0 และเป็นการหลอกให้ลงทุนร้อยละ 8.1 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของ “การโดนหลอกลวงจากผลประโยชน์” จากการสำรวจ พบว่าอาชญากรรมออนไลน์ส่วนมาก เกิดขึ้นบน “แพลตฟอร์ม Facebook” ซึ่งง่ายต่อการเห็นโฆษณาชวนเชื่อ การเชื่อมโยงทางข้อความง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร หรือการโดนเพจปลอมหลอกลวงเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายทุกเพศทุกวัย

เราจะสามารถป้องกันการเกิดอาชญากรรมออนไลน์ได้อย่างไร?

     เราควรเช็คข้อมูลของเพจ กลุ่ม หรือบุคคลที่เป็นแอคเคาท์ในการทำธุรกรรมทางการเงินให้อย่างถี่ถ้วน ก่อนตัดสินใจโอนเงินหรือทำข้อตกลงต่าง ๆ หรือถ้าเป็นเว็บไซต์ควรเช็คข้อมูล โดยเช็คจาก IP address ในโปรแกรม WHO IS และไม่ควรคลิกลิงค์หรือหลงเชื่อสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราจากคำโฆษณาหรืออวดอ้างจะดีที่สุด

     ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333