เมื่อผลกระทบของสภาพอากาศเกิดจากคนมีฐานะเป็นส่วนมาก แต่กลับเป็นคนยากจนที่ต้องรับปัญหาและมีกำลังในการหลีกเลี่ยงผลกระทบเหล่านี้น้อยที่สุด จึงเกิดเป็นข้อเรียกร้องและมุ่งให้ความสำคัญในเรื่อง “ความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ(Climate justice)” ขึ้นมา
จากการประชุม Conference of the Parties ครั้งที่ 27 : COP27 ณ ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีประเด็นเรื่อง “ภาวะโลกรวน” เป็นประเด็นหลัก ทำให้หลายประเทศตระหนักถึงผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ “ปัญหาการขาดสารอาหารจากความยากจนขั้นรุนแรง” ที่เกิดขึ้น
จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ชาวโลก 132 ล้านคน ถูกผลักดันเข้าสู่ “สภาวะยากจนขั้นรุนแรง” และส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้หญิง และผู้คนที่อยู่บริเวณชุมชนชายขอบ
ปัญหาเหล่านี้สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างไร? ... ขอยกเหตุการณ์อย่างง่าย มาอธิบายแนวคิดนี้ให้เห็นภาพชัดเจน เช่น เมื่อเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ปล่อยมลพิษทำให้โลกร้อนเพราะก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เขาสามารถเปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศเป็นการแก้ปัญหาได้ โดยที่เครื่องปรับอากาศก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ปล่อยมลพิษทางอากาศ ในขณะที่คนฐานะยากจนไม่มีกำลังซื้อสิ่งเหล่านี้เพื่อปกป้องหรือสร้างความสะดวกสบายให้ตัวเองได้ จึงเป็นฝ่ายที่ต้องรับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงแค่เหตุผลเล็ก ๆ ที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ำของความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ แต่จริง ๆ แล้ว ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้เกิด “ภาวะโลกรวน” และกลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ไปยังเรื่องอื่น ๆ ได้นั้นเอง
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ปรับปรุงข้อมูลจาก : รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 หมวดเรื่องพิเศษประจำฉบับ เรื่อง คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP : Conference of Parties) กับการรับมือโลกรวน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)