“หนี้ครัวเรือน” คือ เงินที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดา ที่มีถิ่นที่อยู่ภายในประเทศ โดยบุคคลธรรมดานั้น อาจนำเงินที่กู้ยืมไปใช้จ่ายต่าง ๆ หรือเพื่อประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ข้อมูลไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 พบว่าหนี้ครัวเรือนของคนไทยกว่า ร้อยละ 69 เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต เรียกว่า “สินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้(non-productive loan)” หรือที่เรียกว่า “หนี้เสีย”
เหตุใดหนี้ครัวเรือนจึงไม่ใช่เรื่องระดับครัวเรือน?
เพราะหนี้ครัวเรือนสะท้อนถึงปัญหาคุณภาพชีวิตของคนไทยและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันคนไทยกว่า 5.8 ล้านคน กำลังมีหนี้เสีย โดยคิดเป็น 1 ใน 5 ของคนไทยที่เป็นหนี้ทั้งหมด คิดเป็นมูลหนี้ราว 14.9 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 86.8 ของ GDP เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
การที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ โดยมักจะสูงขึ้นเมื่อมี “ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ” หรือเป็น “ช่วงที่ประสบปัญหาการว่างงานหรือรายรับลดลงในครัวเรือน” ซึ่งสะท้อนว่า หนี้ครัวเรือน ไม่ใช่ปัญหาระดับครัวเรือนเท่านั้น
"หนี้ครัวเรือน" เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างครบวงจร ตรงจุด และอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จึงต้องแก้ปัญหาให้ครอบคลุมและภาครัฐมีนโยบายที่สนับสนุนการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง หากไม่ทำการแก้ไขโดยเร็วอาจลุกลามจนสร้างปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาสังคมจนไปถึงปัญหาอาชญากรรมได้
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ปรับปรุงข้อมูลจาก : รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ เรื่อง หนี้ครัวเรือย หลุมดำทางเศรษฐกิจไทย
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)