เมื่อพรรคก้าวไกล ได้กำหนดนโยบายที่มีการผลักดันการแก้ไขกฎหมายสุรา ผ่าน “ร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า” ซึ่งแม้ว่าสภาผู้แทนราษฎรได้รับลงมติในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 แล้ว แต่ยังคงไม่ผ่านพิจารณาในวาระต่อๆ มา “พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า ก็ทำให้วงการการกลั่นสุราชุมชนเริ่มมีความหวังมากขึ้น”
จากข้อมูลสถิติการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ย้อนหลังของคนไทย พบว่า คนไทยบริโภคสุรากลั่นมากที่สุด โดยในปี 2560 มีการดื่มเฉลี่ย 44.9 กรัมต่อปีและอยู่ในระดับคงที่ คือ 4.0, 4.8, 5.7 และ 5.0 กรัมต่อหัวประชากรจนถึงปี 2564 รองลงมาคือ เบียร์ ซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลงและมีระดับคงที่ อยู่ที่ 2.3, 1.8, 1.9, 1.9 และ 1.9 กรัมต่อหัวประชากรตั้งแต่ปี 2560-2564 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในปี 2564 พบว่ามี ”นักดื่มหน้าใหม่” เพิ่มขึ้นมาอีกเท่าตัว โดยเพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2560 จากการสำรวจพบว่าคนไทยมีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัวเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
จากแนวโน้มดังกล่าว คาดว่าถ้า พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า จะส่งผลให้มีนักดื่มเพิ่มมากขึ้น อัตราการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทยก็จะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจภาคชุมชนก็จะมีอัตราการขยายตัวมากขึ้นและขยายไปจนถึงตลาดต่างประเทศได้
แม้จะเป็นผลดีต่อประเทศด้านเศรษฐกิจและลดการผูกขาดของนายทุนได้ แอลกอฮอล์ก็เป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จากข้อมูลพบว่า ระหว่างปี 2550-2564 คนไทยมีพฤติกรรมดื่มประจำถึงร้อยละ 44 กว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36 ดื่มหนัก และพฤติกรรมดื่มแล้วขับสูงถึงร้อยละ 31 เลยทีเดียว
จากเหตุผลดังกล่าว เราอาจจะต้องออกกฎหมายควบคุมนักดื่มให้มากขึ้น เพราะเหตุผลทางอุบัติเหตุส่วนหนึ่งไม่ได้เกิดจากสุราแต่เป็นเพราะการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักดื่มเอง แม้เราจะควบคุมปริมาณการดื่มของแต่ละคนไม่ได้ แต่เราสามารถทำกำหนดพฤติกรรมของนักดื่มผ่านกฎหมายได้
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
ปรับปรุงข้อมูลจาก: รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
เรื่อง การแก้ไขกฎหมายสุรา จากร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า สู่การปลดล็อคสุราชุมชน หน้าที่ 51 - 53
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)