บทความสั้น
สารทดแทนความหวาน ส่งเสริมหรือสั่นคลอนสุขภาพ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | สิงหาคม 2566

ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพกันมากขึ้นโดยเฉพาะด้านอาหาร  แม้การรอบรู้เกี่ยวกับฉลากโภชนาการยังมีค่อนข้างน้อย แต่จะมีจุดสังเกตุให้เราเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพได้โดยง่าย เช่นคำว่า น้ำตาล 0% พลังงาน 0 แคลลอรี่ หรือคำว่าเพื่อสุขภาพ

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พบว่าคนไทยเพียงร้อยละ 41.5 เท่านั้นที่เคยเห็นฉลากทางเลือกสุขภาพบนฉลากอาหาร และพบว่าฉลากทางเลือกสุขภาพมีผลต่อการตัดสินใจเพียงร้อยละ 26.5 นอกจากนี้ยังมีฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ หรือฉลากที่แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมันและโซเดียม พบว่ามีคนพบเห็นและมีผลต่อการตัดสินใจเพียงร้อยละ 34.3 เท่านั้น

หนึ่งในสินค้าสำหรับบริโภคที่ติดเครื่องหมายทางเลือกเพื่อสุขภาพ คือ “อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้สารทดแทนความหวาน หรือ น้ำตาลเทียม” ซึ่งสามารถทำให้ค่าน้ำตาลและค่าพลังงานบนฉลากจีดีเอกลายเป็น 0 ได้

“สารแอสปาร์แตม” เป็นหนึ่งในสารทดแทนความหวานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  เพราะรสชาติหวานเหมือนใส่น้ำตาลทรายมากที่สุด โดยสามารถพบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสูตรไดเอทหรือน้ำตาล 0 % รวมไปถึงขนมหรือลูกอมต่าง ๆ ที่มีรสหวานแต่ปราศจากน้ำตาล

ไม่นานมานี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เตรียมประกาศขึ้นบัญชีสารแอสปาร์แตม (Aspartame) เป็น “สารที่มีความเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง” รวมถึง “การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง”

แม้จะมีแนวโน้มว่าสารแอสปาร์แตมจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป โดยจะต้องดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของแอสปาร์แตมถึง 9 -14 กระป๋องต่อวัน ดังนั้น เราจึงอาจพบเห็นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารแอสปาร์แตมอยู่บนฉลากได้เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราอาจจะอยากหลีกเลี่ยงความหวาน ไขมัน หรือจำนวนแคลลอรี่เพื่อสุขภาพที่ดี โดยใช้สารทดแทนต่าง ๆ เราควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะและสังเกตฉลากอย่างถี่ถ้วน จึงจะทำให้ไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพของเรานั้นเอง

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


หมายเหตุ: ปรับปรุงข้อมูลจาก รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 หมวดตัวชี้วัด 12 ตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ เรื่อง การบริโภคอาหาร หน้าที่ 12 -13

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม:

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)

 

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333