พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารของคนไทยหลายเรื่องยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน การกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเหล่านี้มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากรตามสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
จากผลสำรวจ “การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย” พบว่า “กลุ่มคนรายได้สูง” ดื่มเครื่องดื่มชงที่มีรสหวาน สูงถึงร้อยละ 31.4 ดื่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์บรรจุขวด ร้อยละ 20.5 และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 17.3 ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนรายได้น้อยอย่างชัดเจน
ส่วน “กลุ่มคนรายได้น้อย” พบว่า รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป สูงถึงร้อยละ 22.9 และการรับประทานอาหารชนิดกึ่งสำเร็จรูป อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพมากกว่ากลุ่มคนรายได้สูง
หากพิจารณาจาก “ภาพรวมทั้งหมด” จะพบว่า คนไทยบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มชงที่มีรสหวาน สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 26.3 การดื่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์บรรจุขวด สูงถึงร้อยละ 18.9 และการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป ร้อยละ 16.9
การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย หากบริโภคอย่างไม่พอดี หรือไม่มีการออกกำลังกายร่วมด้วย อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพในอนาคต และการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นำมาซึ่งการผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
หมายเหตุ: ปรับปรุงข้อมูลจาก รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566
12 หมวดตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (หน้าที่ 12)
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTol : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)