ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการปลดล็อกกัญชา ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ อ้างอิงตามประกาศ สธ.เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พ.ศ.2563) โดยสามารถใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสุขภาพตามวิถีพื้นบ้านเท่านั้น ไม่ให้ใช้สันทนาการ
รู้หรือไม่ กัญชา มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อสมอง ควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้า เมื่อเสพแล้วจะต้องการปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลทำให้ความคิดอ่านช้า สับสน และประสาทหลอน
จากการสำรวจสัดส่วนประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยใช้กัญชา จำแนกตามวัตถุประสงค์และเพศ พบว่า ผู้ชายมากกว่าร้อยละ 14.4 เคยใช้กัญชาเพื่อสันทนาการในตลอดชีวิตที่ผ่านมา ต่างจากผู้หญิงที่พบเพียงร้อยละ 0.8 หรือต่างกันราว 18 เท่า และยังพบว่าผู้ชายเคยใช้กัญชาในการปรุงอาการมากกว่าร้อยละ 7.3 ต่างจากผู้หญิงที่พบเพียงร้อยละ 1.8 ส่วนการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคของผู้ชาย พบเพียงร้อยละ 1.5 และผู้หญิงพบแค่ร้อยละ 0.8 เท่านั้น
การใช้กัญชาถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นทางสุขภาพที่ต้องติดตามถึงแนวโน้มการใช้ รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว หลังจากที่กัญชาได้ถูกถอดออกจากยัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ในปี 2565 ที่ผ่านมา
ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com
หมายเหตุ: ปรับปรุงข้อมูลจาก รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 12 หมวดตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (หน้าที่ 11)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2565). ปลดล็อกกัญชา ออกจากยาเสพติด. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2792
ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTol : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)